Company Logo

Contact Us

Notice

การขอประกันตัวในชั้นศาลมี 2 ช่วง

ช่วงแรก คือ เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการนำตัวผู้ต้องหามาขอฝากขังต่อศาลและศาลอนุญาตให้ขังซึ่งถือว่าผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจควบคุมของศาลแล้ว

ช่วงที่สอง คือ ช่วงที่ศาลประทับฟ้องของโจทก์ ผู้ต้องหามีสถานะเป็นจำเลยซึ่งต้องถูกควบคุมตัวอยู่ในอำนาจของศาล

ดังนี้หากผู้ประกันประสงค์จะขอให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยก็จะต้องยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวระหว่างสอบสวนหรือระหว่างพิจารณาแล้วแต่กรณีต่อศาล

 

กำหนดเวลาที่ศาลอนุญาตให้ประกันมีดังนี้

ชั้นสอบสวน มีกำหนดเวลาเท่ากับระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ฝากขังจนกระทั่งมีการฟ้องหรือไม่ฟ้องคดี

ชั้นพิจารณาของศาล สัญญาประกันใช้ได้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

 

เมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมตัวโดยศาล ผู้ประกันสามารถยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยใช้หลักประกันได้ดังนี้

หลักประกัน เงื่อนไข/ลักษณะ
1. การใช้หลักทรัพย์เป็นประกัน

- เงินสด

- ที่ดิน มีโฉนด หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีหนังสือรับรองรา

คาประเมินของสำนักงานที่ดิน ซึ่งไม่มีภาระผูกพันอันอาจกระทบต่อการบัง

คับคดี หากจะนำสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินมาเป็นประกันด้วยก็จะต้องแสดงสำเนา

ทะเบียนบ้าน และหนังสือประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างที่น่า เชื่อถือประกอบด้วย

- ห้องชุดมีโฉนดที่ดินและมีหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดและต้องไม่มีภาระ

ผูกพันอันอาจกระทบต่อการบังคับคดีได้

- หลักทรัพย์มีค่าอย่างอื่นที่กำหนดราคามูลค่าที่แน่นอนได้ เช่น พันธบัตร

รัฐบาลสลากออมสิน, สลากออมทรัพย์ทวีสินของธนาคารเพื่อการเกษตรและ

สหกรณ์การเกษตร, ใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร, ตั๋วสัญญาใช้เงินที่

ธนาคารเป็นผู้ออก, ตั๋วแลกเงินหรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้ สั่งจ่ายหรือรับรองซึ่ง

สามารถเรียกเก็บเงินได้ในวันที่ทำสัญญาประกัน, หนังสือรับรองของธนาคาร

เพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีผิดสัญญาประกัน

2. การใช้บุคคลเป็นประกัน

เป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่การงานหรือมีรายได้แน่นอน เช่น

- ข้าราชการ, ข้าราชการบำนาญ

- สมาชิกรัฐสภา

- ผู้บริหารราชการส่วนท้องถิ่น

- สมาชิกสภาท้องถิ่น

- นักงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น

- พนักงานรัฐวิสาหกิจ

- พนักงานของรัฐประเภทอื่น ๆ ลุกจ้างของทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ

- ผู้บริหารพรรคการเมือง

- ทนายความ

และเป็นผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหาหรือจำเลย ได้แก่

- บุพการี ผู้สืบสันดาน สามี ภริยา ญาติ พี่น้อง

- ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง

- บุคคลที่เกี่ยวพันโดยทางสมรส หรือ

- บุคคลที่ศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้องหรือมีความ

สัมพันธ์ในทางอื่นที่ศาลเห็นสมควรให้ประกันได้อัตราหลักประกัน

- ทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 10 เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้

เฉลี่ยต่อเดือนหากวงเงินประกันมียอดสูงกว่าวงเงินที่ผู้นั้นมีสิทธิประกันได้

ศาลอาจกำหนดให้ผู้ขอประกันวางเงินหรือหลักทรัพย์อื่นเพิ่มเติมให้เพียงพอ

กับวงเงินประกันนั้นได้ หรืออาจให้มีผู้ขอประกันหลายคนร่วมกันทำสัญญา

ประกันโดยใช้วงเงินของแต่ละคนรวมกันได้

 

 

หลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในการขอประกันตัว

1. บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ หรือบัตรแสดงตำแหน่งหน้าที่การงาน ทะเบียนบ้านของจำเลยและผู้ประกันพร้อมสำเนา

2. หลักทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก) เงินสด บัญชีเงินฝาก

3. หนังสือรับรองจากต้นสังกัดหรือนายจ้าง(กรณีขอประกันตัวด้วยตำแหน่งหน้าที่)

4. หนังสือรับรองราคาประเมิน(กรณีใช้โฉนดที่ดิน, หนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นระกัน)

5. หนังสือรับรองจากธนาคาร(กรณีใช้สมุดเงินฝากเป็นประกัน)

6. หลักฐานการยินยอมของคู่สมรส(กรณีผู้ประกันมีคู่สมรส)

 

หลักเกณฑ์ในการสั่งคำร้องขอประกัน

เมื่อยื่นคำร้องขอประกันแล้ว ศาลจะพิจารณาเรื่องเหล่านี้ ประกอบในการพิจารณาสั่งคำร้อง คือ

1. ความหนักเบาแห่งข้อหา

2. พยานหลักฐานที่นำสืบแล้วมีเพียงใด

3. พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร

4. เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด

5. ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่

6. ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใด

7. คำคัดค้านของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ

 

ขั้นตอนการขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย

1. ขอแบบพิมพ์คำร้องขอประกันตัวได้จากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของศาล

2. เขียนคำร้องขอประกันตัวได้เอง โดยขอคำแนะนำหรือดูตัวอย่างได้จากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์หากผู้ขอประกันเขียนหนังสือไม่ได้เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จะช่วยเขียนให้โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนแต่ประการใด

3. ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยลงชื่อในคำร้องขอประกันตัว หากผู้ต้องหาหรือจำเลยมิได้ถูกขังอยู่ที่ศาลเป็นหน้าที่ของนายประกันที่จะต้องนำคำร้องไปให้จำเลยหรือผู้ต้องหาลงชื่อ

4. นายประกันยื่นคำร้องขอประกันตัวพร้อมหลักฐานต่างๆ ที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์

5. เมื่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ได้ตรวจคำร้องและหลักฐานเรียบร้อยแล้วจะลงบัญชีรับเรื่องไว้เป็นหลักฐานแล้วนำเสนอคำร้องต่อผู้พิพากษาเพื่อพิจารณาสั่งคำร้อง เมื่อผู้พิพากษาสั่งคำร้องแล้วจะส่งคำร้องขอประกันกลับคืนไปที่เจ้าหน้าที่

6. เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จะแจ้งคำสั่งของศาลให้นายประกันทราบ

7. หากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกัน นายประกันอาจต้องวางเงินประกัน ค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีโดยเจ้าหน้าที่จะออกใบรับหลักฐานการขอประกันและใบรับเงินให้

8. เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันแล้ว ถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ที่ศาลและยังไม่มีการออกหมายขังไว้เลย จะนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยออกจากห้องควบคุมในศาลได้เลย ถ้าหากผู้ต้องหาหรือจำเลยอยู่ระหว่างถูกขังตามหมายศาล เจ้าหน้าที่จะนำหมายปล่อยไปปล่อย ณ ที่ถูกคุมขัง

9. ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะถูกปล่อยตัวในวันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว

10. หากศาลไม่อนุญาตให้ประกัน ผู้ขอประกันขอรับหลักทรัพย์ที่ยื่นไว้คืนได้จากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์

11. การขอประกันในระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกา ใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วแต่ศาลอาจใช้ดุลพินิจเพิ่มหลักประกันจากของศาลชั้นต้นได้

 

การขอรับหลักทรัพย์หรือเงินสดคืนจากศาล

    เมื่อคดีถึงที่สุด หรือศาลอนุญาตให้ถอนประกัน หรือสัญญาประกันสิ้นสุดลงด้วยเหตุอื่นความรับผิดตามสัญญาประกันสิ้นสุดลง นายประกันสามารถขอหลักประกันคืนได้ทันทีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลและแนบหลักฐานคือใบรับหลักฐานและใบรับเงิน ที่ ศาลออกให้เมื่อครั้งยื่นขอปล่อยชั่วคราว หากใบรับหลักฐานหรือใบรับเงินสูญหาย ต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจและนำใบรับแจ้งความมาแสดงต่อศาล โดยปกติแล้วนายประกันต้องยื่นคำร้องด้วยตนเอง หากไม่สามารถมารับได้ด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้ผู้อื่นมารับหลักทรัพย์หรือเงินสดแทนได้ โดยใบมอบฉันทะขอได้ที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของศาล

 

การมอบฉันทะให้ส่งตัวจำเลยหรือผู้ต้องหา

    ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้นายประกันได้ประกันตัวจำเลยหรือผู้ต้องหาไปนายประกันมีหน้าที่ต้องส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลตามกำหนดนัดของศาลทุกครั้งแต่หากนายประกันไม่สามารถมาศาลได้ นายประกันอาจมอบฉันทะให้บุคคลอื่นส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลแทนได้โดยขอแบบฟอร์มใบมอบฉันทะได้ที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของศาล

 

การขอถอนประกัน

    นายประกันอาจขอถอนประกันได้เสมอโดยต้องส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลเมื่อศาลได้อนุญาตความรับผิดชอบตามสัญญาประกันเป็นอันสิ้นสุดลง ในกรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษปรับอย่างเดียวถ้าจำเลยไม่สามารถชำระค่าปรับ จะต้องถูกขังแทนค่าปรับในอัตราวันละ 200 บาท กรณีนี้จำเลยอาจยื่นขอประกันเพื่อไปหาเงินมาชำระค่าปรับได้

 

กรณีศาลสั่งปรับนายประกัน

    ในกรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกันตามสัญญาประกัน นายประกันจะต้องนำเงินค่าปรับมาชำระต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดมิฉะนั้นศาลจะสั่งยึดหลักประกันขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระค่าปรับต่อไปและถ้าได้เงินไม่พอชำระค่าปรับศาลอาจยึดทรัพย์สินอื่น ๆ ของนายประกันมาขายทอดตลาดเพื่อชำระค่าปรับจนครบ นายประกันที่ศาลสั่งปรับตามสัญญาประกัน มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลได้ภายในกำหนด 1 เดือนหรืออาจนำตัวจำเลยมาส่งศาลและขอลดค่าปรับต่อศาล

 

ข้อควรปฏิบัติสำหรับนายประกัน

1. ให้ชื่อและที่อยู่อันแท้จริงต่อศาลหากมีการย้ายที่อยู่ต้องแจ้งให้ศาลทราบโดยเร็ว

2. เมื่อศาลอนุญาตให้ประกัน นายประกันต้องลงลายมือชื่อในสัญญาประกันไว้เป็นหลักฐานและต้องลงชื่อทราบกำหนดวันเวลาส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมายังศาลด้วย

3. ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลตามกำหนดนัดในชั้นผัดฟ้องฝากขังนายประกันต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลในวันครบกำหนดผัดฟ้องฝากขัง แต่ละครั้งเมื่อศาลนัดให้จำเลยไปศาลในวันใด ไม่ว่าจะเป็นวันนัดสืบพยานนัดฟังคำพิพากษา นัดสอบถาม หรือนัดเพื่อการอื่นใด นายประกันต้องนำจำเลยไปส่งศาลทุกครั้ง หากนายประกันผิดนัดไม่สามารถนำผู้ต้องหาหรือจำเลยไปศาลตามที่กล่าวข้างต้น ศาลอาจถอนประกันและปรับนายประกันตามสัญญาทันทีฉะนั้นนายประกัน จึงต้องคอยติดตามอยู่เสมอว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยอยู่ที่ใดในระหว่างประกันตัว

 

                                    อัตราค่าประกันตัวผู้ต้องหาชั้นพนักงานสอบสวน
                        ประเภทความผิด            กำหนดราคาประกัน
1.เกี่ยวกับการปกครอง  
-ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ( ม.136 ) 10,000 บาท ขึ้นไป
-แจ้งความเท็จ ( ม.137 ) 20,000 บาท ขึ้นไป
-ให้สินบนเจ้าพนักงาน ( ม.144 ) 50,000 บาท ขึ้นไป
-ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ( ม.157 ) 100,000 บาท ขึ้นไป
2.เกี่ยวกับความยุติธรรม  
-ให้สินบนเจ้าพนักงาน ( ม.167 ) 100,000 บาท ขึ้นไป
-แจ้งความเท็จ ( ม.172,173,174 ) 50,000 บาท ขึ้นไป
-ฟ้องเท็จ ( ม.175 ) 60,000 บาท ขึ้นไป
-เบิกความเท็จ ( ม.177 ) 

60,000 บาท ขึ้นไป
-แสดงหลักฐานเท็จ ( ม.180 ) 60,000 บาท ขึ้นไป
-ขัดหมายศาล ( ม.210 ) 10,000 บาท ขึ้นไป
3.เกี่ยวกับความสงบสุข  
-ซ่องโจร ( ม.210 ) 20,0 00 บาท ขึ้นไป
 ถ้ามีอาวุธปืนหรือของกลาง 30,000 บาท ขึ้นไป
-มั่วสุมตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไปก่อความไม่สงบ ( ม.215 ) 20,000 บาท ขึ้นไป
-ถ้าผู้กระทำผิดเป็นหัวหน้า 30,000-50,000 บาท ขึ้นไป
4.เกี่ยวกับก่อให้เกิดอันตราย  
-วงเพลิงเผาทรัพย์ ( ม.217 ) 200,000 บาท ขึ้นไป
 ถ้าเป็นทรัพย์ตาม ม.218 300,000 บาท ขึ้นไป
 ถ้าเป็นเหตุให้ผู้อื่นตาย ( ม.224 ) 400,000 บาท ขึ้นไป
-ทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท ( ม.225 ) 100,000 บาท ขึ้นไป
5.เกี่ยวกับเอกสาร  
-ทำลายเอกสารพินัยกรรมของผู้อื่น ( ม.188 ) 80,000 บาท ขึ้นไป
-ปลอมแปลงเอกสาร ( ม.244 ) 50,000 บาท ขึ้นไป
-ปลอมแปลงเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการ ( ม.265 ) 100,000 บาท ขึ้นไป
-ปลอมเอกสาร ( ม.266 ) 200,000 บาท ขึ้นไป
6.เกี่ยวกับเพศ  
-ข่มขืนกระทำชำเรา ( ม.276,277 ) 150,000 บาท ขึ้นไป
 ถ้าเป็นการโทรมหญิง 200,000 บาท ขึ้นไป
-กระทำอนาจาร ( ม.278,279 ) 50,000 บาท ขึ้นไป
-เป็นธุระจัดหาฯ ( ม.283 ) 200,000 บาท ขึ้นไป
-พรากผู้เยาว์ฯ ( ม.317,318,319 ) 120,000 บาท ขึ้นไป
7.เกี่ยวกับชีวิตร่างกาย  
-ฆ่าผู้อื่น ( ม.288,289 ) 400,000 บาท ขึ้นไป
 ถ้าเป็นการพยายามกระทำผิด 200,000 บาท ขึ้นไป
-กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นตาย 100,000-150,000 บาท ขึ้นไป
-ชุลมุนมีคนตาย 50,000 บาท ขึ้นไป
-ทำร้ายร่างกาย ( ม.295 ) 20,000 บาท ขึ้นไป
 ถ้าใช้อาวุธ 30,000 บาท ขึ้นไป
-ทำร้ายร่างกายถึงสาหัส 100,000 บาท ขึ้นไป
-ชุลมุนมีผู้ได้รับอันตรายสาหัส 20,000 บาท ขึ้นไป
-กระทำโดยประมาทมีผู้ได้รับอันตรายสาหัส 30,000-50,000 บาท ขึ้นไป
8.เกี่ยวกับการหมิ่นประมาท  
-การหมิ่นประมาท ( ม.326,327 ) 10,000 บาท ขึ้นไป
-หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ( ม.328 ) 100,000 บาท ขึ้นไป
9.เกี่ยวกับทรัพย์  
-ลักทรัพย์ ( ม.334 ) 50,000 บาท ขึ้นไป
 ถ้าเป็นทรัพย์ฯ เกินกว่า 500,000 บาท หรือใช้วิธีล้วงกระเป๋า 100,000 บาท ขึ้นไป
-ลักทรพัย์ ( ม.335 ) 120,000 บาท ขึ้นไป
-ลักทรัพย์ ( ม.335 ทวิ,336 ทวิ ) 200,000 บาท ขึ้นไป
-วิ่งราวทรัพย์ ( ม.336 ) 120,000 บาท ขึ้นไป
-วิ่งราวทรัพย์ ( ม.336 ทวิ ) 200,000 บาท ขึ้นไป
-กรรโชกทรัพย์ ( ม.337 ) 100,000 บาท ขึ้นไป
-รีดเอาทรัพย์ ( ม.338 ) 120,000 บาท ขึ้นไป
-ชิงทรัพย์ 200,000 บาท ขึ้นไป
-ปล้นทรัพย์ ( ม.340 ) 300,000 บาท ขึ้นไป
-ฉ้อโกง ( ม.341 )

ขั้นต่ำประมาณ 3/4 ของเงินที่

ฉ้อโกงแต่ไม่น้อยกว่า 20,000

บาท

-ฉ้อโกงประชาชน ( ม.343 ) 200,000 บาท ขึ้นไป
-รับของโจร ( ม.357 ) 80,000 บาท ขึ้นไป
-ทำให้เสียทรัพย์ ( ม.358 )

ขั้นต่ำประมาณ 3/4 ของทรัพย์

ที่เสียหาย แต่ไม่น้อยกว่า

20,000 บาท

ความผิด พ.ร.บ. อื่นๆ
1.พ.ร.บ.การพนัน  
-ผู้เล่นตามบัญชี ก. 10,000 บาท ขึ้นไป
-ผู้เล่นตามบัญชี ข. (สำหรับลูกค้า ผู้เล่น) 5,000-10,000 บาท ขึ้นไป
-เจ้ามือหรือผู้จัดให้มีการเล่น 30,000 บาท ขึ้นไป
-ตามบัญชี ก. และบัญชี ข. สำหรับเจ้าบ้าน 20,000 บาท ขึ้นไป
2.พ.ร.บ.อาวุธปืน  
-มีอาวุธปืนไม่มีทะเบียน (ปืนเถื่อน) 80,000 บาท ขึ้นไป
-มีอาวุธปืนมีทะเบียน (พกพา) 30,000 บาท ขึ้นไป
-มีอาวุธปืนของผู้อื่นที่ได้รับอนุญาตฯ (ผิดมือ) 30,000-50,000 บาท ขึ้นไป
-มีเครื่องกระสุนปืน (ขึ้นอยู่กับจำนวนของกลาง) 20,000-50,000 บาท ขึ้นไป
-มีเครื่องกระสุนปืน,วัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต 500,000 บาท ขึ้นไป
3.พ.ร.บ.ยาเสพติด  
-เสพกัญชา 5,000 บาท ขึ้นไป
-ครอบครองกัญชา (ไม่เกิน 20 กรัม) 30,000 บาท ขึ้นไป
 ถ้าเป็นชาวต่างประเทศ 100,000 บาท ขึ้นไป
-ครอบครองเฮโรอีน (ไม่เกิน 1 กรัม),ฝิ่น 100,000 บาท ขึ้นไป
 ถ้าเป็นชาวต่างประเทศ 250,000 บาท ขึ้นไป
-ครอบครองเฮโรอีน,มอร์ฟีน (ตั้งแต่ 1-20 กรัม) 200,000 บาท ขึ้นไป
-จำหน่ายกัญชา 80,000 บาท ขึ้นไป
-จำหน่ายเฮโรอีน,มอร์ฟีน  
1.ไม่เกิน 1 กรัม 100,000 บาท ขึ้นไป
2.ตั้งแต่ 1-5 กรัม 300,000 บาท ขึ้นไป
3.เกินกว่า 5 กรัม 400,000 บาท ขึ้นไป
-จำหน่ายฝิ่น 100,000-300,000 บาท ขึ้นไป
4.พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ (ยาบ้า)  
-เสพฯ 30,000-50,000 บาท ขึ้นไป
-ครอบครองไม่เกิน 10 เม็ด 50,000-100,000 บาท ขึ้นไป
-จำหน่าย 200,000 บาท ขึ้นไป
5.พ.ร.บ.สารระเหย  
-สูด ดมสารระเหย,กาว 5,000 บาท ขึ้นไป
6.พ.ร.บ.จราจรทางบก  
  ขับรถประมาท  
1.ชนแล้วหลบหนี 20,000 บาท ขึ้นไป
2.มีคนบาดเจ็บแล้วหลบหนี 30,000 บาท ขึ้นไป
3.มีคนเจ็บสาหัสแล้วหลบหนี 50,00 บาท ขึ้นไป
 ขับรถประมาทมีคนตาย  
1.รถธรรมดา 150,000 บาท ขึ้นไป
2.รถสาธารณะ 180,000 บาท ขึ้นไป
3.หลบหนี 200,000 บาท ขึ้นไป
7.พ.ร.บ.ลิขสิทธิ  
-ละเมิดตาม (ม.24,25,26) 100,000 บาท ขึ้นไป
 ถ้าเป็นละเมิดเพื่อการค้า 200,000 บาท ขึ้นไป
-ละเมิดตาม (ม.27 ) 400,000 บาท ขึ้นไป
8.พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม 50,000 บาท ขึ้นไป
9.พ.ร.บ.ยา 50,000 บาท ขึ้นไป
10.พ.ร.บ.ยาสูบ 50,000 บาท ขึ้นไป
11.พ.ร.บ.จัดหางาน  
-จัดหางานเพื่อทำงานในประเทศ 50,000 บาท ขึ้นไป
-จัดหางานเพื่อทำงานต่างประเทศ 200,000 บาท ขึ้นไป
12.พ.ร.บ.เทปวัสดุโทรทัศน์  
-ประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต 20,000 บาท ขึ้นไป
-มีวัสดุเทปโดยไม่ผ่านการพิจารณาฯ 10,000 บาท ขึ้นไป
13.พ.ร.บ.การค้าประเวณี  
-เตล็ดเตร่เพื่อการค้าประเวณีในที่สาธารณะ 5,000 บาท ขึ้นไป
-ค้าประเวณีในสถานการค้าประเวณี 5,000 บาท ขึ้นไป
-เป็นธุระจัดหาหญิงเพื่อการค้าประเวณี 20,000 บาท ขึ้นไป
14.พ.ร.บ.คนเข้าเมือง 80,000 บาท ขึ้นไป
15.พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว 40,000 บาท ขึ้นไป
16.พ.ร.บ.อาหาร 80,000 บาท ขึ้นไป
17.พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ป่า 100,000 บาท ขึ้นไป
18.พ.ร.บ.ป่าไม้,โรงงานแปรรูปไม้,พระราชกฤษฎีกาป่าไม้ 200,000 บาท ขึ้นไป
19.พ.ร.บ.ศุลกากร 300,000 บาท ขึ้นไป
20.พ.ร.บ.ชั่ง ตวง วัด 20,000 บาท ขึ้นไป
21.พ.ร.บ.โรงงาน 50,000 บาท ขึ้นไป



Powered by Joomla!®. Designed by: joomla 1.6 templates web hosting Valid XHTML and CSS.