Thailand Visa
Notice
Work Permit
ใบอนุญาติทำงาน หรือ work permit หมายถึง ชาวต่างชาติที่ต้องเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย เพื่อประกอบธุรกิจ กิจการหรือลูกจ้าง ทุกอาชีพนั้น จำเป็นต้องยื่นขอการเปลี่ยนประเภทการลงตราตามกฎหมายของราชอาณาจักรไทย ว่าด้วยชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยต้องยื่นขอการเปลี่ยนแปลงประเภทการลงตราเป็น Non-Immigrant Visa ''B'' หรือวีซ่าประเภทธุรกิจ และเมื่อทำการเปลี่ยนลงตราเรียยร้อยแล้วนั้น จำเป็นต้องยื่นขอใบอนุญาติทำงาน หรือ work permit มิฉะนั้นจะไม่สามารถทำงานในราชอาณาจักรไทยได้
เมื่อชาวต่างชาติที่ดำเนินการขอวีซ่า Non-Immigrant Visa ''B'' มาแล้วแต่ยังไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาติทำงาน หรือ work Permit ท่านสามารถยื่นขอเองได้ทีกรมจัดหางานกระทรวงแรงงานภายในระยะเวลา 90 วัน หลังจากที่ท่านได้เดินถึงประเทศไทยแล้ว ตามกฎหมายที่ให้พำนักอยู่ได้ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว
การขออนุญาตทำงานครั้งแรก หรือเมื่อใบอนุญาตเดิมขาดหมดอายุจึงขอใหม่ คุณสมบัติของคนต่างด้าวที่จะขอใบอนุญาตทำงาน
1. คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ราชอาณาจักร หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง(NON-IMMIGRANT)โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน(TOURIST/TRANSIT)ซึ่งจะอนุญาตทำงานในครั้งแรก หรือเมื่อใบอนุญาตเดิมขาดต่ออายุจึงขอใหม่
2. มีความรู้และความสามารถในการทำงานตามที่ขออนุญาต
3. ไม่เป็นบุคลวิกลจริตหรือมีจิตฟั้นเฟือนไม่สมประกอบ ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะสุดท้าย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคซิฟิลิสในระยะที่ 3
4. ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนวันขอรับใบอนุญาต
เอกสารสำหรับยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงาน (Work permit) มีดังต่อไปนี้
1. แบบคำขอ ต.ม.1 และรูปถ่ายขนาด 3 x 4 เซนติเมตร (1 นิ้วครึ่ง) จำนวน 3 รูป ( ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ที่ไม่ใช่รูปจากคอมพิวเตอร์/โพลารอยด์ )
2. หนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ชี้แจงความจำเป็นในการจ้างแรงงานต่างด้าว กรณีบริษัทผ่าน B.O.I หรือ กนอ. ให้ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ชี้แจงเหตุผลที่ไม่ยื่นใช้สิทธิ์ B.O.I หรือ กนอ. พร้อมสำเนาบัตรส่งเสริม
3. หนังสือรับรองการจ้างงาน หรือสัญญาจ้าง
4. สำเนาหลักฐานการศึกษาและหลักฐานการผ่านงาน
5. ใบรับรองแพทย์
6. สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมฉบับจริง
7. สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในกรณีที่เป็นการประกอบวิชาชีพที่กฏหมายกำหนดให้ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
8. หนังสือมอบอำนาจจากนายจ้าง(กรณีนายจ้างเป็นคนต่างด้าว ใช้สำเนาใบอนุญาตทำงาน) ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
เอกสารที่ประกอบการพิจารณาตามประเภทของกิจการ/นายจ้าง
1. สถานประกอบการเอกชน
1.1 สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคลไทย และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ไม่เกิน 6 เดือน) หรือนิติบุคคลต่างด้าวให้ยื่นสำเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวออก ตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพ.ศ. 2542 พร้อมนำหลักฐานการนำเงินจากต่างประเทศเข้ามาใช้จ่ายในประเทศ
1.2 สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01 และ ภ.พ. 20) ที่ระบุประเภทกิจการ ภ.พ. 09 หากมีการเปลี่ยนแปลง
1.3 กรณีนายจ้างเป็นคนต่างด้าว ให้แนบสำเนาใบอนุญาตทำงานของนายจ้าง หากนายจ้างผู้นั้นไม่ได้ทำงานในประเทศไทย และไม่มีใบอนุญาตทำงานต้องให้ Notary Public และสถานทูตไทยรับรองการมอบอำนาจให้กรรมการหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งลงนามแทน
1.4 กรณีนายจ้างประกอบกิจการที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายอื่น หรือต้องมีหนังสืออนุญาตให้ดำเนินกิจการจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสืออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน, หนังสืออนุญาตประกอบกิจการโรงแรม, ใบอนุญาตองค์กรอาหารและยา, ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว, ใบอนุญาตให้ใช้สถานที่เป็น สถานที่จำหน่ายอาหาร ฯลฯ
1.5 บัญชีรายชื่อคนต่างด้าว พร้อมเลขที่ใบอนุญาตทำงาน อยู่ในสถานประกอบการ แผนภูมิการแบ่งงานและแผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
1.6 สำเนาหลักฐานการจ่ายเงินประกันสังคมเดือนล่าสุด และสำเนาเอกสารรายได้ที่เป็นปัจจุบัน ได้แก่ งบการเงิน และ ภงด.50 หรือ ภงด. 51(ปีล่าสุด) และ ภพ.30
1.7 รูปถ่ายสถานประกอบการ 4 รูป ป้ายชื่อบริษัท 1 รูป ด้านหน้าเห็นตัวอาคาร 1 รูป ภายใน 2 รูป (รูปถ่ายในโรงงาน 2 รูป) (ถ้ามี)
2. โรงเรียนเอกชน / มหาวิทยาลัยเอกชน
2.1 สำเนาหนังสือแต่งตั้งครูหรือผู้สอน (ผู้ทำหน้าที่ด้านการเรียนการสอน) ปฏิบัติหน้าที่ พร้อมสัญญาจ้าง / มหาวิทยาลัยเอกชนให้แสดงหนังสือรับรองการหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ โดยระบุชื่อคนต่างด้าว ตำแหน่งและระยะเวลาการจ้าง
2.2 ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู (ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา) ยกเว้น ตำแหน่งครูฝึกสอน หรือใบผ่อนผันใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
2.3 สำเนาใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ และใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ / ใบอนุญาตต่างๆ (ถ้ามี) / สำเนาใบจัดตั้งมหาวิทยาลัยและคำสั่งแต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามของมหาวิทยาลัย
2.4 เอกสารแสดงวุฒิการศึกษา / เอกสารแสดงผลการศึกษารายวิชา และเอกสารแสดงประสบการณ์การเป็นครู (ถ้ามี)
3. หน่วยงานราชการ
3.1 หนังสือรับรองจากส่วนราชการ / รัฐวิสาหกิจ / องค์การมหาชน / เขตการศึกษา (กรณีครูโรงเรียนรัฐบาล ) โดยระบุชื่อ ตำแหน่ง และระยะเวลาการจ้างงาน
3.2 กรณีครูโรงเรียนรัฐบาลให้แสดงใบประกอบวิชาชีพครู (ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา) ยกเว้น ตำแหน่งครูฝึกสอน
4. มูลนิธิหรือสมาคม
หนังสือรับรองนิติบุคคลของมูลนิธิ สมาคม วัตถุประสงค์ พร้อมบัญชีรายชื่อคณะกรรมการ
5. กิจการถ่ายหรือทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ
5.1 หนังสือรับรองจากสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว ใบอนุญาตเป็นผู้ประสานงาน พร้อมรายชื่อ – ตำแหน่งงาน และเลขที่หนังสือเดินทางของคนต่างด้าว
5.2 สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ไม่เกิน6 เดือน)
หมายเหตุ
1. เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศ ยกเว้น ภาษาอังกฤษ ให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทย ที่มีการรับรองความถูกต้อง
2. สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรอง ดังนี้
- เอกสารของนายจ้าง ให้ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท (ถ้ามี) หรือผู้รับมอบอำนาจ
- เอกสารของสารต่างด้าวให้คนต่างด้าวลงลายมือชื่อ หรือผู้รับมอบอำนาจ