Main Menu
Contact Us
Notice
อายุความตามกฎหมายอาญา
มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิดเป็นอันขาดอายุความ
(1) 20 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุก 20 ปี
(2) 15 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 7 ปีแต่ ยังไม่ถึง 20 ปี
(3) 10 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 1 ปีถึง 7 ปี
(4) 5 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 1 เดือนถึง 1 ปี
(5) 1 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือน ลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกินกำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน
มาตรา 96 ภายใต้บังคับมาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความ ได้ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ
มาตรา 97 ในการฟ้องขอให้กักกัน ถ้าจะฟ้องภายหลังการฟ้องคดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้องขอให้กักกัน ต้องฟ้องภายในกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ฟ้องคดีนั้น มิฉะนั้น เป็นอันขาดอายุความ
มาตรา 98 เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใดผู้นั้น ยังมิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนีแล้วแต่กรณี เกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ เป็นอันล่วงเลยการลงโทษจะลงโทษผู้นั้นมิได้
(1) 20 ปี สำหรับโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุก 20 ปี
(2) 15 ปี สำหรับโทษจำคุกกว่า 7 ปีแต่ยังไม่ถึง 20 ปี
(3) 10 ปี สำหรับโทษจำคุกกว่า 1 ปีถึง 7 ปี
(4) 5 ปี สำหรับโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีลงมาหรือโทษอย่างอื่น
มาตรา 99 การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับหรือการกักขังแทนค่าปรับ ถ้ามิได้ทำภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด จะยึดทรัพย์สินหรือกักขังไม่ได้
ความในวรรคแรกมิให้ใช้บังคับในกรณีการกักขังแทนค่าปรับ ซึ่งทำต่อเนื่องกับการลงโทษจำคุก
มาตรา 100 เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้กักกันผู้ใด ถ้าผู้นั้นยังมิได้รับการกักกันก็ดี ได้รับการกักกันแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้าพ้นกำหนด 3 ปีนับแต่วันที่พ้นโทษโดยได้รับโทษตามคำพิพากษาแล้ว หรือโดยล่วงเลยการลงโทษ หรือนับแต่วันที่ผู้นั้นหลบหนีระหว่างเวลาที่ต้องกักกัน เป็นอันล่วงเลยการกักกัน จะกักกันผู้นั้นไม่ได้
มาตรา 101 การบังคับตามคำสั่งของศาลตามความใน มาตรา 46 หรือการร้องขอให้ศาลสั่งให้ใช้เงินเมื่อผู้ทำทัณฑ์บนประพฤติผิดทัณฑ์ บนตามความใน มาตรา 47 นั้น ถ้ามิได้บังคับหรือร้องขอภายในกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง หรือนับแต่วันที่ผู้ทำทัณฑ์บนประพฤติ ผิดทัณฑ์บนจะบังคับหรือร้องขอมิได้
การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง
มาตรา 90 เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฏหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด
มาตรา 91 เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปแต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลด มาตรา ส่วนโทษด้วยหรือไม่ ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนด ดังต่อไปนี้
(1) 10 ปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษ จำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี
(2) 20 ปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษ จำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปีแต่ไม่เกิน 10 ปี
(3) 50 ปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษ จำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
"มนุษย์เราไม่สามารถที่จะอยู่คนเดียวในโลก จำเป็นต้องติดต่อกับผู้อื่นอยู่เสมอ"
การทำสัญญานั้น มีหลายประการด้วยกัน คือ
1 วัตถุประสงค์ของสัญญาว่า ต้องการทำอะไร ควรระบุให้ชัดเจน
2 ชื่อที่อยู่ของคู่สัญญา เพื่อประโยชน์ในการติดตามบังคับให้ปฎิบัติตามสัญญา
3 ความสามารถของคู่สัญญา หากเป็นผู้เยาว์ต้องให้ผู้แทนโดยชอบธรรม คือ บิดามารดาของผู้เยาว์ให้ความยินยอมก่อน เป็นต้น
4 ถูกต้องตามแบบหรือไม่ เช่น ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ คือ ที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน กู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เป็นต้น
5 ความยินยอมของคู่สมรส หากเป็นการทำสัญญาเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ ขายฝาก เช่าซื้อ จำนอง ก่อให้เกิดภาระจำยอม สิทธิเก็บกิน หรือนำเงินสินสมรสไปให้กู้ ต้องให้คู่สมรสของคู่สัญญาให้ความยินยอมด้วย มิฉะนั้น คู่สมรสอาจฟ้องเพิกถอนสัญญาในภายหลังได้
6 ค่าเสียหาย หรือเบี้ยปรับ เมื่อมีการผิดสัญญา ควรระบุให้ชัดเจน
7 ค่าธรรมเนียม ภาษี ฝ่ายใดจะเป็นผู้รับผิดชอบ หรือให้รับผิดชอบร่วมกัน
8 ลายมือชื่อคู่สัญญา หากพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือต้องมีพยานรับรอง 2 คน จึงจะบังคับได้
9 พยานที่รู้เห็นการทำสัญญา แม้กฎหมายจะไม่บังคับให้ต้องมีพยาน แต่ก็ควรมีพยานไว้เพื่อเบิกความยืนยันการทำสัญญา เมื่อมีกรณีพิพาทเกิดขึ้น
***ข้อควรระวังในการทำสัญญามีดังนี้***
1 ควรมีหลักฐาน แม้กฎหมายจะให้ทำได้ด้วยวาจา ก็ควรทำเป็นหนังสือ เนื่องจากชัดเจนแน่นอนโต้แย้งได้ยาก
2 อย่าไว้วางใจ คือ อย่าเชื่อใจว่าเขาจะไม่โกง เพราะหากเขาโกงเราจะแก้ไม่ทัน ท่านอย่าเซ็นชื่อในกระดาษเปล่า หรือแบบพิมพ์ที่มิได้กรอกข้อความ ทุกครั้งที่มีการชำระหนี้การขอใบเสร็จหรือหลักฐานการรับชำระหนี้ หรือขอหลักฐานแห่งหนี้คืนมา หรือขีดฆ่าทำลายหลักฐานแห่งหนี้เสีย
3 อย่าเห็นแก่ได้ ประโยชน์ที่มากผิดปกติ ทรัพย์ที่ราคาต่ำผิดปกติ ผู้ที่ทำสัญญามาน่าจะมีทรัพย์เช่นนั้น หรือทำในเวลาผิดปกติ เช่น กลางคืน หรือในวันหยุด ท่านอาจมีความผิดฐานรับของโจร
4 ข้อความในสัญญาควรระบุให้ชัดเจน ไม่ใช้คำที่คลุมเครือหรือแปลได้หลายนัย
5 ควรมีคู่ฉบับ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องตรงกัน ป้องกันมิให้ฝ่ายใดแก้ไขสัญญาเพียงฝ่ายเดียว
6 การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาภายหลัง อย่าตกลงด้วยวาจา ควรให้คู่สัญญาบันทึกไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง มิฉะนั้น อีกฝ่ายอาจอ้างได้ว่าไม่มีการตกลงแก้ไข
________________________________________________________________
อ้างอิง จาก ท่าน รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา
เพิ่มเติมจากทนายความ เกี่ยวกับ การกู้ยืมเงิน
DO
1 ทำสัญญากู้เงินถูกต้องตามกฎหมาย
2 เขียนตัวหนังสือกำกับตัวเลขเงินกู้
3 มีพยานน่าเชื่อถือลงชื่อในสัญญาอย่างน้อย 1 คน
4 ทำสัญญาเก็บไว้คนละ 1 ชุด
5 ควรมีหลักประกันการชำระหนี้ (คนค้ำประกัน / จดทะเบียนจำนองที่ดิน)
6 ก่อนลงชื่อในสัญญาอ่านให้เข้าใจและตรวจสอบให้ถูกต้อง
7 เก็บหลักฐานรับเงินและหลักฐานการใช้หนี้ไว้ทุกครั้ง
DON'T
1 อย่าเสียดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี
2 อย่ารับเงินน้อยกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญา
3 อย่าลงชื่อในกระดาษเปล่าและหนังสือที่เว้นบรรทัดไว้
4 อย่านำโฉนดที่ดิน นส3 ให้เจ้าหนี้ถือไว้เป็นประกันการกู้เงิน
5 อย่าเขียนจำนวนเงินในสัญญามากกว่าที่กู้
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่ง
1. ค่าขึ้นศาล
คดีที่มีทุนทรัพย์ ได้แก่ คดีที่โจทก์เรียกร้องโดยมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โดยจำนวนเงินหรือราคาทรัพย์ที่เรียกร้องนั้นถือเป็นทุนทรัพย์
1. ค่าขึ้นศาลในคดีที่มีทุนทรัพย์โจทก์ต้องเสียอัตราร้อยละ 2 ของจำนวนทุนทรัพย์ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งทุนทรัพย์ 10 ล้านบาท
1. สำหรับทุนทรัพย์พิพาทเกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่เกินเสียอัตราร้อยละ 0.1
1. สำหรับคดีมโนสาเร่ ทุนทรัพย์พิพาทไม่เกิน 300,000 บาท เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 1,000 บาท อยู่เขตอำนาจศาลแขวง
คดีไม่มีทุนทรัพย์ คือ คดีที่โจทก์มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โดยสำหรับค่าขึ้นศาลในคดีไม่มีทุนทรัพย์โจทก์ต้องเสียเรื่องละ 200 บาท
1. ในกรณีเป็นคดีมีทุนทรัพย์กับไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ในคดีเดียวกันให้คิดค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละ 2 ของจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องโดยเป็นเงินอย่างต่ำ 200 บาท แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
2. คำฟ้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คิดค่าขึ้นศาลอัตราร้อยละ 1 ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่อนุญาโตตุลาการกำหนดไว้ในคำชี้ขาดแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
3. คำฟ้องขอให้บังคับจำนองหรือบังคับเอาทรัพย์สินจำนองหลุด คิดค่าขึ้นศาลตามจำนวนหนี้ที่เรียกร้องในอัตราร้อยละ 1 แต่ไม่เกิน 100, 000 บาท
4. อุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 หรือ 228 เสียค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท
5. ค่าขึ้นศาลในอนาคต เกี่ยวกับค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าเสียหาย เป็นต้น 100 บาท
วิธีการชำระ
เงินสด หรือ แคชเชียร์เช็ค
ค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้น
ตามปกติศาลจะคำนวณค่าขึ้นศาลเมื่อ โจทก์ยื่นฟ้อง แต่ถ้าต่อมามีการแก้ไขคำฟ้องหรือมีเหตุประการอื่นอันทำให้จำนวนทุนทรัพย์ เพิ่มขึ้นโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เพิ่มนั้น
วิธีคำนวณค่าขึ้นศาล อย่างง่ายๆ
เช่น ทุนทรัพย์ = 500,050 บาท
วิธีคิด = 500,050 บาท หารด้วย 50
คิดเป็นค่าขึ้นศาล = 10,001 บาท
กรณีเศษสตางค์ให้ปัดขึ้น
2. ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ในคดีแพ่ง
1. คำร้อง 20 บาท (ปัจจุบันยกเลิกแล้ว)
2. คำขอ 10 บาท (ปัจจุบันยกเลิกแล้ว)
3. คำแถลง - บาท
4. ใบแต่งทนาย 20 บาท (ปัจจุบันยกเลิกแล้ว)
5. ค่าอ้างเอกสารเป็นพยานฉบับละ 5 บาท สูงสุดไม่เกิน 200 บาท (ปัจจุบันยกเลิกแล้ว)
6. ค่ารับรองสำเนาเอกสาร โดยผู้อำนวยการสำนักงานศาล ฉบับละ 50 บาท
7. ค่าใบสำคัญแสดงว่าคดีถึงที่สุด ฉบับละ 50 บาท
8. ค่านำส่งเอกสารโดยเจ้าพนักงานศาล ตามอัตราแสดงของศาลนั้น
3. ค่าใช้จ่ายอื่น ในการดำเนินคดีแพ่ง คู่ความอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก เช่น ค่าส่งหมาย ค่าทำแผนที่พิพาท เป็นต้น
1. ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 500 บาท
2. ค่าป่วยการและค่าพาหนะพยาน 500-1,000 บาท
3. ค่าตรวจเอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญ
การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
กรณีที่โจทก์หรือจำเลยเป็นคนยากจน ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาลโจทก์หรือจำเลยอาจยื่นคำร้องขออนุญาตยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้ เรียกว่าการฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาซึ่งขอได้ทุกระดับชั้นศาลผู้ขอจะต้องสาบานตัวต่อศาลว่า ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาล
ถ้าศาลอนุญาตให้ฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาทั้งหมด ผู้นั้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินกระบวน
แต่ถ้าศาลอนุญาตให้ฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาเพียงบางส่วนผู้นั้นจะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเฉพาะส่วนที่ศาลสั่งยกเว้นให้
การขอประกันตัวในชั้นศาลมี 2 ช่วง
ช่วงแรก คือ เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการนำตัวผู้ต้องหามาขอฝากขังต่อศาลและศาลอนุญาตให้ขังซึ่งถือว่าผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจควบคุมของศาลแล้ว
ช่วงที่สอง คือ ช่วงที่ศาลประทับฟ้องของโจทก์ ผู้ต้องหามีสถานะเป็นจำเลยซึ่งต้องถูกควบคุมตัวอยู่ในอำนาจของศาล
ดังนี้หากผู้ประกันประสงค์จะขอให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยก็จะต้องยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวระหว่างสอบสวนหรือระหว่างพิจารณาแล้วแต่กรณีต่อศาล
กำหนดเวลาที่ศาลอนุญาตให้ประกันมีดังนี้
ชั้นสอบสวน มีกำหนดเวลาเท่ากับระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ฝากขังจนกระทั่งมีการฟ้องหรือไม่ฟ้องคดี
ชั้นพิจารณาของศาล สัญญาประกันใช้ได้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
เมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมตัวโดยศาล ผู้ประกันสามารถยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยใช้หลักประกันได้ดังนี้
หลักประกัน | เงื่อนไข/ลักษณะ |
1. การใช้หลักทรัพย์เป็นประกัน |
- เงินสด - ที่ดิน มีโฉนด หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีหนังสือรับรองรา คาประเมินของสำนักงานที่ดิน ซึ่งไม่มีภาระผูกพันอันอาจกระทบต่อการบัง คับคดี หากจะนำสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินมาเป็นประกันด้วยก็จะต้องแสดงสำเนา ทะเบียนบ้าน และหนังสือประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างที่น่า เชื่อถือประกอบด้วย - ห้องชุดมีโฉนดที่ดินและมีหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดและต้องไม่มีภาระ ผูกพันอันอาจกระทบต่อการบังคับคดีได้ - หลักทรัพย์มีค่าอย่างอื่นที่กำหนดราคามูลค่าที่แน่นอนได้ เช่น พันธบัตร รัฐบาลสลากออมสิน, สลากออมทรัพย์ทวีสินของธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร, ใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร, ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ ธนาคารเป็นผู้ออก, ตั๋วแลกเงินหรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้ สั่งจ่ายหรือรับรองซึ่ง สามารถเรียกเก็บเงินได้ในวันที่ทำสัญญาประกัน, หนังสือรับรองของธนาคาร เพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีผิดสัญญาประกัน |
2. การใช้บุคคลเป็นประกัน |
เป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่การงานหรือมีรายได้แน่นอน เช่น - ข้าราชการ, ข้าราชการบำนาญ - สมาชิกรัฐสภา - ผู้บริหารราชการส่วนท้องถิ่น - สมาชิกสภาท้องถิ่น - นักงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น - พนักงานรัฐวิสาหกิจ - พนักงานของรัฐประเภทอื่น ๆ ลุกจ้างของทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ - ผู้บริหารพรรคการเมือง - ทนายความ และเป็นผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหาหรือจำเลย ได้แก่ - บุพการี ผู้สืบสันดาน สามี ภริยา ญาติ พี่น้อง - ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง - บุคคลที่เกี่ยวพันโดยทางสมรส หรือ - บุคคลที่ศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้องหรือมีความ สัมพันธ์ในทางอื่นที่ศาลเห็นสมควรให้ประกันได้อัตราหลักประกัน - ทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 10 เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้ เฉลี่ยต่อเดือนหากวงเงินประกันมียอดสูงกว่าวงเงินที่ผู้นั้นมีสิทธิประกันได้ ศาลอาจกำหนดให้ผู้ขอประกันวางเงินหรือหลักทรัพย์อื่นเพิ่มเติมให้เพียงพอ กับวงเงินประกันนั้นได้ หรืออาจให้มีผู้ขอประกันหลายคนร่วมกันทำสัญญา ประกันโดยใช้วงเงินของแต่ละคนรวมกันได้
|
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในการขอประกันตัว
1. บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ หรือบัตรแสดงตำแหน่งหน้าที่การงาน ทะเบียนบ้านของจำเลยและผู้ประกันพร้อมสำเนา
2. หลักทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก) เงินสด บัญชีเงินฝาก
3. หนังสือรับรองจากต้นสังกัดหรือนายจ้าง(กรณีขอประกันตัวด้วยตำแหน่งหน้าที่)
4. หนังสือรับรองราคาประเมิน(กรณีใช้โฉนดที่ดิน, หนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นระกัน)
5. หนังสือรับรองจากธนาคาร(กรณีใช้สมุดเงินฝากเป็นประกัน)
6. หลักฐานการยินยอมของคู่สมรส(กรณีผู้ประกันมีคู่สมรส)
หลักเกณฑ์ในการสั่งคำร้องขอประกัน
เมื่อยื่นคำร้องขอประกันแล้ว ศาลจะพิจารณาเรื่องเหล่านี้ ประกอบในการพิจารณาสั่งคำร้อง คือ
1. ความหนักเบาแห่งข้อหา
2. พยานหลักฐานที่นำสืบแล้วมีเพียงใด
3. พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร
4. เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
5. ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
6. ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใด
7. คำคัดค้านของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ
ขั้นตอนการขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย
1. ขอแบบพิมพ์คำร้องขอประกันตัวได้จากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของศาล
2. เขียนคำร้องขอประกันตัวได้เอง โดยขอคำแนะนำหรือดูตัวอย่างได้จากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์หากผู้ขอประกันเขียนหนังสือไม่ได้เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จะช่วยเขียนให้โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนแต่ประการใด
3. ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยลงชื่อในคำร้องขอประกันตัว หากผู้ต้องหาหรือจำเลยมิได้ถูกขังอยู่ที่ศาลเป็นหน้าที่ของนายประกันที่จะต้องนำคำร้องไปให้จำเลยหรือผู้ต้องหาลงชื่อ
4. นายประกันยื่นคำร้องขอประกันตัวพร้อมหลักฐานต่างๆ ที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
5. เมื่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ได้ตรวจคำร้องและหลักฐานเรียบร้อยแล้วจะลงบัญชีรับเรื่องไว้เป็นหลักฐานแล้วนำเสนอคำร้องต่อผู้พิพากษาเพื่อพิจารณาสั่งคำร้อง เมื่อผู้พิพากษาสั่งคำร้องแล้วจะส่งคำร้องขอประกันกลับคืนไปที่เจ้าหน้าที่
6. เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จะแจ้งคำสั่งของศาลให้นายประกันทราบ
7. หากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกัน นายประกันอาจต้องวางเงินประกัน ค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีโดยเจ้าหน้าที่จะออกใบรับหลักฐานการขอประกันและใบรับเงินให้
8. เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันแล้ว ถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ที่ศาลและยังไม่มีการออกหมายขังไว้เลย จะนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยออกจากห้องควบคุมในศาลได้เลย ถ้าหากผู้ต้องหาหรือจำเลยอยู่ระหว่างถูกขังตามหมายศาล เจ้าหน้าที่จะนำหมายปล่อยไปปล่อย ณ ที่ถูกคุมขัง
9. ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะถูกปล่อยตัวในวันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว
10. หากศาลไม่อนุญาตให้ประกัน ผู้ขอประกันขอรับหลักทรัพย์ที่ยื่นไว้คืนได้จากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
11. การขอประกันในระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกา ใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วแต่ศาลอาจใช้ดุลพินิจเพิ่มหลักประกันจากของศาลชั้นต้นได้
การขอรับหลักทรัพย์หรือเงินสดคืนจากศาล
เมื่อคดีถึงที่สุด หรือศาลอนุญาตให้ถอนประกัน หรือสัญญาประกันสิ้นสุดลงด้วยเหตุอื่นความรับผิดตามสัญญาประกันสิ้นสุดลง นายประกันสามารถขอหลักประกันคืนได้ทันทีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลและแนบหลักฐานคือใบรับหลักฐานและใบรับเงิน ที่ ศาลออกให้เมื่อครั้งยื่นขอปล่อยชั่วคราว หากใบรับหลักฐานหรือใบรับเงินสูญหาย ต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจและนำใบรับแจ้งความมาแสดงต่อศาล โดยปกติแล้วนายประกันต้องยื่นคำร้องด้วยตนเอง หากไม่สามารถมารับได้ด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้ผู้อื่นมารับหลักทรัพย์หรือเงินสดแทนได้ โดยใบมอบฉันทะขอได้ที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของศาล
การมอบฉันทะให้ส่งตัวจำเลยหรือผู้ต้องหา
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้นายประกันได้ประกันตัวจำเลยหรือผู้ต้องหาไปนายประกันมีหน้าที่ต้องส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลตามกำหนดนัดของศาลทุกครั้งแต่หากนายประกันไม่สามารถมาศาลได้ นายประกันอาจมอบฉันทะให้บุคคลอื่นส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลแทนได้โดยขอแบบฟอร์มใบมอบฉันทะได้ที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของศาล
การขอถอนประกัน
นายประกันอาจขอถอนประกันได้เสมอโดยต้องส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลเมื่อศาลได้อนุญาตความรับผิดชอบตามสัญญาประกันเป็นอันสิ้นสุดลง ในกรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษปรับอย่างเดียวถ้าจำเลยไม่สามารถชำระค่าปรับ จะต้องถูกขังแทนค่าปรับในอัตราวันละ 200 บาท กรณีนี้จำเลยอาจยื่นขอประกันเพื่อไปหาเงินมาชำระค่าปรับได้
กรณีศาลสั่งปรับนายประกัน
ในกรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกันตามสัญญาประกัน นายประกันจะต้องนำเงินค่าปรับมาชำระต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดมิฉะนั้นศาลจะสั่งยึดหลักประกันขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระค่าปรับต่อไปและถ้าได้เงินไม่พอชำระค่าปรับศาลอาจยึดทรัพย์สินอื่น ๆ ของนายประกันมาขายทอดตลาดเพื่อชำระค่าปรับจนครบ นายประกันที่ศาลสั่งปรับตามสัญญาประกัน มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลได้ภายในกำหนด 1 เดือนหรืออาจนำตัวจำเลยมาส่งศาลและขอลดค่าปรับต่อศาล
ข้อควรปฏิบัติสำหรับนายประกัน
1. ให้ชื่อและที่อยู่อันแท้จริงต่อศาลหากมีการย้ายที่อยู่ต้องแจ้งให้ศาลทราบโดยเร็ว
2. เมื่อศาลอนุญาตให้ประกัน นายประกันต้องลงลายมือชื่อในสัญญาประกันไว้เป็นหลักฐานและต้องลงชื่อทราบกำหนดวันเวลาส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมายังศาลด้วย
3. ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลตามกำหนดนัดในชั้นผัดฟ้องฝากขังนายประกันต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลในวันครบกำหนดผัดฟ้องฝากขัง แต่ละครั้งเมื่อศาลนัดให้จำเลยไปศาลในวันใด ไม่ว่าจะเป็นวันนัดสืบพยานนัดฟังคำพิพากษา นัดสอบถาม หรือนัดเพื่อการอื่นใด นายประกันต้องนำจำเลยไปส่งศาลทุกครั้ง หากนายประกันผิดนัดไม่สามารถนำผู้ต้องหาหรือจำเลยไปศาลตามที่กล่าวข้างต้น ศาลอาจถอนประกันและปรับนายประกันตามสัญญาทันทีฉะนั้นนายประกัน จึงต้องคอยติดตามอยู่เสมอว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยอยู่ที่ใดในระหว่างประกันตัว
อัตราค่าประกันตัวผู้ต้องหาชั้นพนักงานสอบสวน | |
ประเภทความผิด | กำหนดราคาประกัน |
1.เกี่ยวกับการปกครอง | |
-ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ( ม.136 ) | 10,000 บาท ขึ้นไป |
-แจ้งความเท็จ ( ม.137 ) | 20,000 บาท ขึ้นไป |
-ให้สินบนเจ้าพนักงาน ( ม.144 ) | 50,000 บาท ขึ้นไป |
-ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ( ม.157 ) | 100,000 บาท ขึ้นไป |
2.เกี่ยวกับความยุติธรรม | |
-ให้สินบนเจ้าพนักงาน ( ม.167 ) | 100,000 บาท ขึ้นไป |
-แจ้งความเท็จ ( ม.172,173,174 ) | 50,000 บาท ขึ้นไป |
-ฟ้องเท็จ ( ม.175 ) | 60,000 บาท ขึ้นไป |
-เบิกความเท็จ ( ม.177 ) |
60,000 บาท ขึ้นไป |
-แสดงหลักฐานเท็จ ( ม.180 ) | 60,000 บาท ขึ้นไป |
-ขัดหมายศาล ( ม.210 ) | 10,000 บาท ขึ้นไป |
3.เกี่ยวกับความสงบสุข | |
-ซ่องโจร ( ม.210 ) | 20,0 00 บาท ขึ้นไป |
ถ้ามีอาวุธปืนหรือของกลาง | 30,000 บาท ขึ้นไป |
-มั่วสุมตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไปก่อความไม่สงบ ( ม.215 ) | 20,000 บาท ขึ้นไป |
-ถ้าผู้กระทำผิดเป็นหัวหน้า | 30,000-50,000 บาท ขึ้นไป |
4.เกี่ยวกับก่อให้เกิดอันตราย | |
-วงเพลิงเผาทรัพย์ ( ม.217 ) | 200,000 บาท ขึ้นไป |
ถ้าเป็นทรัพย์ตาม ม.218 | 300,000 บาท ขึ้นไป |
ถ้าเป็นเหตุให้ผู้อื่นตาย ( ม.224 ) | 400,000 บาท ขึ้นไป |
-ทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท ( ม.225 ) | 100,000 บาท ขึ้นไป |
5.เกี่ยวกับเอกสาร | |
-ทำลายเอกสารพินัยกรรมของผู้อื่น ( ม.188 ) | 80,000 บาท ขึ้นไป |
-ปลอมแปลงเอกสาร ( ม.244 ) | 50,000 บาท ขึ้นไป |
-ปลอมแปลงเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการ ( ม.265 ) | 100,000 บาท ขึ้นไป |
-ปลอมเอกสาร ( ม.266 ) | 200,000 บาท ขึ้นไป |
6.เกี่ยวกับเพศ | |
-ข่มขืนกระทำชำเรา ( ม.276,277 ) | 150,000 บาท ขึ้นไป |
ถ้าเป็นการโทรมหญิง | 200,000 บาท ขึ้นไป |
-กระทำอนาจาร ( ม.278,279 ) | 50,000 บาท ขึ้นไป |
-เป็นธุระจัดหาฯ ( ม.283 ) | 200,000 บาท ขึ้นไป |
-พรากผู้เยาว์ฯ ( ม.317,318,319 ) | 120,000 บาท ขึ้นไป |
7.เกี่ยวกับชีวิตร่างกาย | |
-ฆ่าผู้อื่น ( ม.288,289 ) | 400,000 บาท ขึ้นไป |
ถ้าเป็นการพยายามกระทำผิด | 200,000 บาท ขึ้นไป |
-กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นตาย | 100,000-150,000 บาท ขึ้นไป |
-ชุลมุนมีคนตาย | 50,000 บาท ขึ้นไป |
-ทำร้ายร่างกาย ( ม.295 ) | 20,000 บาท ขึ้นไป |
ถ้าใช้อาวุธ | 30,000 บาท ขึ้นไป |
-ทำร้ายร่างกายถึงสาหัส | 100,000 บาท ขึ้นไป |
-ชุลมุนมีผู้ได้รับอันตรายสาหัส | 20,000 บาท ขึ้นไป |
-กระทำโดยประมาทมีผู้ได้รับอันตรายสาหัส | 30,000-50,000 บาท ขึ้นไป |
8.เกี่ยวกับการหมิ่นประมาท | |
-การหมิ่นประมาท ( ม.326,327 ) | 10,000 บาท ขึ้นไป |
-หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ( ม.328 ) | 100,000 บาท ขึ้นไป |
9.เกี่ยวกับทรัพย์ | |
-ลักทรัพย์ ( ม.334 ) | 50,000 บาท ขึ้นไป |
ถ้าเป็นทรัพย์ฯ เกินกว่า 500,000 บาท หรือใช้วิธีล้วงกระเป๋า | 100,000 บาท ขึ้นไป |
-ลักทรพัย์ ( ม.335 ) | 120,000 บาท ขึ้นไป |
-ลักทรัพย์ ( ม.335 ทวิ,336 ทวิ ) | 200,000 บาท ขึ้นไป |
-วิ่งราวทรัพย์ ( ม.336 ) | 120,000 บาท ขึ้นไป |
-วิ่งราวทรัพย์ ( ม.336 ทวิ ) | 200,000 บาท ขึ้นไป |
-กรรโชกทรัพย์ ( ม.337 ) | 100,000 บาท ขึ้นไป |
-รีดเอาทรัพย์ ( ม.338 ) | 120,000 บาท ขึ้นไป |
-ชิงทรัพย์ | 200,000 บาท ขึ้นไป |
-ปล้นทรัพย์ ( ม.340 ) | 300,000 บาท ขึ้นไป |
-ฉ้อโกง ( ม.341 ) |
ขั้นต่ำประมาณ 3/4 ของเงินที่ ฉ้อโกงแต่ไม่น้อยกว่า 20,000 บาท |
-ฉ้อโกงประชาชน ( ม.343 ) | 200,000 บาท ขึ้นไป |
-รับของโจร ( ม.357 ) | 80,000 บาท ขึ้นไป |
-ทำให้เสียทรัพย์ ( ม.358 ) |
ขั้นต่ำประมาณ 3/4 ของทรัพย์ ที่เสียหาย แต่ไม่น้อยกว่า 20,000 บาท |
ความผิด พ.ร.บ. อื่นๆ | |
1.พ.ร.บ.การพนัน | |
-ผู้เล่นตามบัญชี ก. | 10,000 บาท ขึ้นไป |
-ผู้เล่นตามบัญชี ข. (สำหรับลูกค้า ผู้เล่น) | 5,000-10,000 บาท ขึ้นไป |
-เจ้ามือหรือผู้จัดให้มีการเล่น | 30,000 บาท ขึ้นไป |
-ตามบัญชี ก. และบัญชี ข. สำหรับเจ้าบ้าน | 20,000 บาท ขึ้นไป |
2.พ.ร.บ.อาวุธปืน | |
-มีอาวุธปืนไม่มีทะเบียน (ปืนเถื่อน) | 80,000 บาท ขึ้นไป |
-มีอาวุธปืนมีทะเบียน (พกพา) | 30,000 บาท ขึ้นไป |
-มีอาวุธปืนของผู้อื่นที่ได้รับอนุญาตฯ (ผิดมือ) | 30,000-50,000 บาท ขึ้นไป |
-มีเครื่องกระสุนปืน (ขึ้นอยู่กับจำนวนของกลาง) | 20,000-50,000 บาท ขึ้นไป |
-มีเครื่องกระสุนปืน,วัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต | 500,000 บาท ขึ้นไป |
3.พ.ร.บ.ยาเสพติด | |
-เสพกัญชา | 5,000 บาท ขึ้นไป |
-ครอบครองกัญชา (ไม่เกิน 20 กรัม) | 30,000 บาท ขึ้นไป |
ถ้าเป็นชาวต่างประเทศ | 100,000 บาท ขึ้นไป |
-ครอบครองเฮโรอีน (ไม่เกิน 1 กรัม),ฝิ่น | 100,000 บาท ขึ้นไป |
ถ้าเป็นชาวต่างประเทศ | 250,000 บาท ขึ้นไป |
-ครอบครองเฮโรอีน,มอร์ฟีน (ตั้งแต่ 1-20 กรัม) | 200,000 บาท ขึ้นไป |
-จำหน่ายกัญชา | 80,000 บาท ขึ้นไป |
-จำหน่ายเฮโรอีน,มอร์ฟีน | |
1.ไม่เกิน 1 กรัม | 100,000 บาท ขึ้นไป |
2.ตั้งแต่ 1-5 กรัม | 300,000 บาท ขึ้นไป |
3.เกินกว่า 5 กรัม | 400,000 บาท ขึ้นไป |
-จำหน่ายฝิ่น | 100,000-300,000 บาท ขึ้นไป |
4.พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ (ยาบ้า) | |
-เสพฯ | 30,000-50,000 บาท ขึ้นไป |
-ครอบครองไม่เกิน 10 เม็ด | 50,000-100,000 บาท ขึ้นไป |
-จำหน่าย | 200,000 บาท ขึ้นไป |
5.พ.ร.บ.สารระเหย | |
-สูด ดมสารระเหย,กาว | 5,000 บาท ขึ้นไป |
6.พ.ร.บ.จราจรทางบก | |
ขับรถประมาท | |
1.ชนแล้วหลบหนี | 20,000 บาท ขึ้นไป |
2.มีคนบาดเจ็บแล้วหลบหนี | 30,000 บาท ขึ้นไป |
3.มีคนเจ็บสาหัสแล้วหลบหนี | 50,00 บาท ขึ้นไป |
ขับรถประมาทมีคนตาย | |
1.รถธรรมดา | 150,000 บาท ขึ้นไป |
2.รถสาธารณะ | 180,000 บาท ขึ้นไป |
3.หลบหนี | 200,000 บาท ขึ้นไป |
7.พ.ร.บ.ลิขสิทธิ | |
-ละเมิดตาม (ม.24,25,26) | 100,000 บาท ขึ้นไป |
ถ้าเป็นละเมิดเพื่อการค้า | 200,000 บาท ขึ้นไป |
-ละเมิดตาม (ม.27 ) | 400,000 บาท ขึ้นไป |
8.พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม | 50,000 บาท ขึ้นไป |
9.พ.ร.บ.ยา | 50,000 บาท ขึ้นไป |
10.พ.ร.บ.ยาสูบ | 50,000 บาท ขึ้นไป |
11.พ.ร.บ.จัดหางาน | |
-จัดหางานเพื่อทำงานในประเทศ | 50,000 บาท ขึ้นไป |
-จัดหางานเพื่อทำงานต่างประเทศ | 200,000 บาท ขึ้นไป |
12.พ.ร.บ.เทปวัสดุโทรทัศน์ | |
-ประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต | 20,000 บาท ขึ้นไป |
-มีวัสดุเทปโดยไม่ผ่านการพิจารณาฯ | 10,000 บาท ขึ้นไป |
13.พ.ร.บ.การค้าประเวณี | |
-เตล็ดเตร่เพื่อการค้าประเวณีในที่สาธารณะ | 5,000 บาท ขึ้นไป |
-ค้าประเวณีในสถานการค้าประเวณี | 5,000 บาท ขึ้นไป |
-เป็นธุระจัดหาหญิงเพื่อการค้าประเวณี | 20,000 บาท ขึ้นไป |
14.พ.ร.บ.คนเข้าเมือง | 80,000 บาท ขึ้นไป |
15.พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว | 40,000 บาท ขึ้นไป |
16.พ.ร.บ.อาหาร | 80,000 บาท ขึ้นไป |
17.พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ป่า | 100,000 บาท ขึ้นไป |
18.พ.ร.บ.ป่าไม้,โรงงานแปรรูปไม้,พระราชกฤษฎีกาป่าไม้ | 200,000 บาท ขึ้นไป |
19.พ.ร.บ.ศุลกากร | 300,000 บาท ขึ้นไป |
20.พ.ร.บ.ชั่ง ตวง วัด | 20,000 บาท ขึ้นไป |
21.พ.ร.บ.โรงงาน | 50,000 บาท ขึ้นไป |