Main Menu
Contact Us
Notice
ประะมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 362 ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฏีกา ที่น่าสนใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2406/2560
จำเลยก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างคร่อมลำเหมืองที่เกิดเหตุตั้งแต่ปี 2542 สำหรับความผิดข้อหาบุกรุกและข้อหาทำให้เสียหาย ทำลายทรัพย์ที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ตาม ป.อ. มาตรา 362 และมาตรา 360 เมื่อจำเลยบุกรุกเข้าไปและทำให้เสียทรัพย์ ความผิดฐานดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นและสำเร็จในทันทีที่บุกรุกเข้าไปและทำให้เสียทรัพย์ ส่วนการยึดถือครอบครองเป็นผลของการบุกรุก เมื่อจำเลยบุกรุกเข้าไปและทำให้เสียทรัพย์ โดยก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างคร่อมลำเหมือง ที่เกิดเหตุตั้งแต่ปี 2542 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้ปี 2557 จึงเกินกำหนด 5 ปี และ 10 ปี นับแต่วันกระทำความผิดข้อหาบุกรุกและข้อหาทำให้เสียหาย ทำลายทรัพย์ ที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ตามลำดับ ฟ้องโจทก์ในข้อหาดังกล่าวจึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 ส่วนความผิดข้อหาเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ที่ดินของรัฐซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 และ 108 ทวิ วรรคสอง เป็นความผิดที่มีขึ้นตั้งแต่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองและยังคงมีอยู่ตลอดเวลาที่จำเลยครอบครอง แม้จำเลยจะครอบครองมานานเกิน 10 ปี คดีของโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 และ 108 ทวิ วรรคสอง ก็ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2535
จำเลยทั้งสองเข้าไปสร้างรั้วไม้รวก ห้องครัวและห้องน้ำรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของโจทก์เพื่อถือการครอบครองที่ดินของโจทก์ ความผิดฐานบุกรุกจึงเกิดขึ้นและสำเร็จเมื่อจำเลยทั้งสองเข้าไปกระทำการดังกล่าว ส่วนการที่จำเลยทั้งสองยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุกเท่านั้น ไม่เป็นความผิดต่อเนื่องเมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบยืนยันว่า จำเลยทั้งสองได้บุกรุกที่ดินพิพาท เมื่อใดกันแน่ก่อนหรือหลังวันที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมา และจำเลยทั้งสองนำสืบต่อสู้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำการดังกล่าวมาก่อนโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทซึ่งหากเป็นดังที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามฟ้อง ควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3797/2543
พฤติการณ์ที่จำเลยเข้าไปในบ้านโจทก์ แม้เดิมจะเคยเข้าไปอันเป็นการถือวิสาสะทำให้ไม่เป็นความผิด แต่เมื่อโจทก์กับสามีไล่ให้ออกจากบ้าน จำเลยไม่ยอมออกลากตัวออกไปยังกลับเข้ามาอีก จึงเป็นความผิดฐานบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืน ส่วนในวันรุ่งขึ้น (วันที่ 10 มิถุนายน 2537) จำเลยเข้าไปในบ้านโจทก์อีก โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์หรือสามีโจทก์อนุญาต จึงเป็นความผิดฐานบุกรุกเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 364 อีกกระทงหนึ่ง
ตามเอกสารการร้องทุกข์ได้ระบุข้อความว่า "และต่อมาในวันรุ่งขึ้น เวลาประมาณ 7.00 นาฬิกา จำเลยได้มาที่บ้านอีกครั้ง พร้อมกับได้พูดยืนยันตามที่ได้พูดเมื่อคืนเป็นความจริง"จากข้อความดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้แจ้งความร้องทุกข์เกี่ยวกับความผิดฐานบุกรุกเคหสถานในวันที่ 10 มิถุนายน 2537 แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุถึงมาตราความผิดแต่ประการใด
การขอรับชำระหนี้จำนอง ก่อนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ภายหลังโจทก์ได้ยื่นฟ้อง และศาลมีคำพิพากษาให้ชนะคดี โจทก์ดำเนินการบังคับคดี ยึดอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ หากทรัพย์สินนั้นติดจำนอง เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีหนังสือแจ้งมายังผู้รับจำนอง เพื่อให้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองต่อศาล โดยให้ศาลมีคำสั่งให้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดของจำเลย มาชำระหนี้จำนองของผู้รับจำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญอื่น
เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง
1. สำเนาโฉนดที่ดิน / หนังสือรับรองกรรมสิทธิ์ห้องชุด
2. สัญญาจำนอง
3. ทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน / หนังสือรับรองบริษัท
4. คำพิพากษา
5. รายการการยึดอสังหาริมทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
6. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ป.พ.พ. มาตรา 287 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ได้แก่
(1) เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ลูกหนี้ตามคําพิพากษา และในกรณีที่มีการอายัดสิทธิเรียกร้องให้รวมถึงลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง ผู้ทรงสิทธิเรียกร้อง หรือผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องนั้นด้วย
(2) บุคคลผู้มีทรัพยสิทธิหรือได้จดทะเบียนสิทธิของตนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี
(3) บุคคลซึ่งได้ยื่นคําร้องขอตามมาตรา 323 มาตรา 324 มาตรา 326 และมาตรา 329 เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่ถูกบังคับคดี
(4) บุคคลผู้เป็นเจ้าของรวมหรือบุคคลผู้มีบุริมสิทธิ สิทธิยึดหน่วง หรือสิทธิอื่นตามมาตรา 322 เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่ถูกบังคับคดี
(5) บุคคลอื่นใดซึ่งต้องเสียหายเพราะเหตุแห่งการดําเนินการบังคับคดีนั้น
ป.วิ.แพ่ง มาตรา 324 บุคคลใดมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ หรือได้รับส่วนแบ่งจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่งทรัพยสิทธิ บุริมสิทธิ สิทธิยึดหน่วง หรือสิทธิอื่นซึ่งบุคคลนั้นมีอยู่เหนือทรัพย์สินหรืออาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นตามกฎหมาย ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นผู้รับจำนองทรัพย์สินหรือเป็นผู้ทรงบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้จดทะเบียนไว้ บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายหรือจำหน่าย ขอให้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีที่อาจบังคับเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองหลุด ขอให้เอาทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นหลุด ถ้าศาลมีคำสั่งอนุญาต การยึดทรัพย์ที่จำนองนั้นเป็นอันเพิกถอนไปในตัว
(ข) ในกรณีอื่น ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้นมาชำระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น
(2) ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีว่าทรัพย์สินซึ่งขายหรือจำหน่ายนั้นเป็นของเจ้าของรวมอันได้จดทะเบียนไว้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินส่วนของเจ้าของรวมอื่น นอกจากส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษาออกจากเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้นตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 340
(3) ในกรณีที่เป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงซึ่งไม่มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ขายหรือจำหน่าย บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้นขอให้นำเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายมาชำระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นซึ่งไม่มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น
(4) ในกรณีอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) (2) และ (3) ผู้ทรงสิทธินั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้น ขอให้ตนได้รับส่วนแบ่งในเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายหรือขอให้นำเงินดังกล่าวมาชำระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น
คำพิพากษาศาลฏีกา ที่น่าสนใจ
ประเด็น แม้ไม่ได้ยื่นคำร้อง ก็ยังมีสิทธิบังคับจำนองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2543
แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองไม่ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์พิพาทออกขายทอดตลาด ก็หาเป็นเหตุให้ผู้ร้องหมดสิทธิในฐานะผู้รับจำนองไปไม่เพราะการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์พิพาทได้ ฉะนั้น เมื่อเอาทรัพย์พิพาทขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองตามความประสงค์ของผู้ร้อง และผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อจากขายทอดตลาดได้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นรวมทั้งโจทก์ด้วย
ประเด็น มีสิทธิได้รับชำระหนี้ เฉพาะส่วนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2550
ผู้ร้องอ้างว่าผู้คัดค้านมีสิทธิอยู่กึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่โจทก์นำยึดไว้ในคดีนี้ เนื่องจากผู้คัดค้านเป็นเจ้าของรวมในที่ดินดังกล่าวร่วมกับจำเลย ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้จำนองของผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์ดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แม้ผู้คัดค้านจะไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วย แต่ก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ผู้ร้องในฐานะเป็นบุคคลภายนอกจะใช้สิทธิของเจ้าหนี้จำนองซึ่งถือว่าเป็นบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ที่อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมายเพื่อรับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่โจทก์นำยึดไว้ในคดีนี้ได้
ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่าผู้คัดค้านมีสิทธิอยู่กึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่โจทก์นำยึดไว้ในคดีนี้ ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองของผู้คัดค้านจึงขอใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 เห็นได้ว่าผู้ร้องตั้งเรื่องมาในคำร้องและระบุท้ายคำร้องชัดเจนว่าเป็นการขอใช้สิทธิตามมาตรา 287 เพื่อขอรับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งสิทธิของผู้ร้องในคดีนี้ถือได้ว่าเป็นบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ที่อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์นั้นได้ตามมาตรา 287 กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตามกำหนดเวลาของมาตรา 289 วรรคสอง
ประเด็น หนี้จำนองต้องถึงกำหนดชำระแล้วผู้รับจำนองจึงจะยื่นคำร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1597/2542
ในวันที่จำเลยจดทะเบียนจำนองทรัพย์พิพาทไว้แก่ผู้ร้อง ส.มีหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องอยู่ก่อนแล้ว ดังนี้ แม้ ส.จะขอต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไป 12 เดือนก็ตาม แต่หลังจากครบกำหนดดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องและ ส.ยังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ทั้งปรากฏว่าผู้ร้องยังมิได้บอกเลิกสัญญาและยังให้บัญชีเดินสะพัดเดินต่อไป จึงเห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัด เมื่อหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่าง ส.กับผู้ร้องยังไม่ถึงกำหนดชำระ ผู้ร้องจึงไม่อาจอาศัยอำนาจแห่งการจำนอง บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 289 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3575/2534
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 ได้นำยึดที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 จำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้ผู้ร้องอยู่มาบังคับคดีชำระหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอบังคับชำระหนี้จำนอง ก่อนกำหนดชำระหนี้ตามสัญญากู้ 1 วัน ซึ่งจำเลยที่ 2ยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ หนี้จำนองของผู้ร้องจึงยังมิใช่หนี้จำนองที่อาจบังคับได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ดังนี้ผู้ร้องจะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองหาได้ไม่ แต่การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้อง (ผู้รับจำนอง)ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2559
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 บัญญัติให้มาตราดังกล่าวอยู่ภายใต้แห่งบทบัญญัติมาตรา 288 และ 289 มีความหมายว่า หากบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ นั้น เป็นสิทธิประเภทที่อาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ตามมาตรา 288 หรือบังคับให้ชำระหนี้ตามมาตรา 289 ผู้ร้องก็มีสิทธิที่จะดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ แต่แม้มิได้ใช้สิทธิหรือบังคับตามสิทธิของตนตามบทบัญญัติดังกล่าว การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ย่อมไม่ถูกกระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ดังกล่าวอยู่นั่นเอง ดังนี้ เมื่อพิเคราะห์ตามคำร้องของผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องอ้างมาในคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองห้องชุดพิพาทที่โจทก์นำยึด หนี้ตามสัญญาจำนองยังไม่ถึงกำหนดชำระ ผู้ร้องจึงไม่อาจใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์จำนองได้ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้กันเงินจากการขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองไว้ให้แก่ผู้ร้องด้วย จะเห็นได้ว่าเนื้อหาตามคำร้องขอดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 หาใช่เป็นการร้องขอรับชำระหนี้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ไม่ แม้ขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง หนี้จำนองที่จำเลยจะต้องรับผิดชำระแก่ผู้ร้องยังไม่ถึงกำหนดชำระอันจะขอรับชำระหนี้จำนองตามมาตรา 289 วรรคหนึ่ง ไม่ได้ก็ตาม แต่การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิอื่น ๆ ของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 เมื่อผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองห้องชุดพิพาทที่โจทก์นำยึดได้ใช้สิทธิตามมาตรา 287 และขอให้ขายทอดตลาดโดยปลอดจำนอง ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอกันเงินจากการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ตาม ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก)
ประเด็น ผู้รับจำนองต้องยื่นคำร้องตามมาตรา 289 ก่อนมีการเอาทรัพย์สินที่จำนองออกขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1995/2535
การยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยมาชำระหนี้ของผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้อื่น อันเป็นการใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสองนั้น ต้องยื่นก่อนเอาทรัพย์นั้นขายทอดตลาด ดังนั้นเมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นภายหลังจากที่ได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้ว จึงเป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมาย ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิขอให้เอาเงินที่ได้มาจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยมาชำระหนี้จำนองของผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้รายอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7569/2549
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพื่อใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ซึ่งวรรคสองได้กำหนดระยะเวลาไว้ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอได้ก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอด เมื่อการขายทอดตลาดครั้งแรกไม่มีผู้สนใจเข้าประมูลราคา เจ้าพนักงานบังคับคดีได้งดการขายและประกาศขายทอดตลาดใหม่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนวันที่ประกาศขายทอดตลาดใหม่ จึงเป็นการยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์จำนองนั้นออกขายทอดตลาดตามที่กฎหมายกำหนด
ประเด็น การที่ผู้รับจำนองจะไม่ได้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนขายทอดตลาด การบังคับคดีก็ไม่กระทบกระทั่งสิทธิของผู้จำนอง ถ้าได้ขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นไปโดยปลอดจำนอง ผู้รับจำนองก็มีสิทธิรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2543
แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองไม่ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์พิพาทออกขายทอดตลาด ก็หาเป็นเหตุให้ผู้ร้องหมดสิทธิในฐานะผู้รับจำนองไปไม่เพราะการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์พิพาทได้ ฉะนั้น เมื่อเอาทรัพย์พิพาทขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองตามความประสงค์ของผู้ร้อง และผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อจากขายทอดตลาดได้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นรวมทั้งโจทก์ด้วย
ประเด็น การใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จำนองตามมาตรา 289 นี้ ให้ทำเป็นคำร้องขอโดยผู้รับจำนองไม่จำต้องส่งคำบอกกล่าวเพื่อบังคับจำนองก่อนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2551
ผู้รับจำนองมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้รายอื่นๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 โดยหาจำต้องฟ้องร้องขอบังคับจำนองก่อนหรือต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่แล้วไม่เพราะกฎหมายมิได้มีข้อจำกัดสิทธิของผู้รับจำนองดังกล่าว และการยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ก็มิใช่การฟ้องบังคับจำนองโดยตรง ผู้รับจำนองจึงไม่ต้องมีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองให้ลูกหนี้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 ดังนั้น ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองย่อมอาศัยอำนาจแห่งการจำนองยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองในทรัพย์จำนองที่มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายอื่นยึดไว้แล้วได้
ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทนายความ
1. ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาล โดยเสียค่าธรรมเนียมศาล 200 บาท
2. ทำสำเนาคำร้องและหมายนัดไต่สวนส่งให้แก่โจทก์ จำเลย และเจ้าพนักงานบังคับคดี
3. ยื่นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี กรณีที่ส่งไปให้ศาลอื่นบังคับคดีแทน ก็จะยื่นต่อศาลที่บังคับคดีแทนไม่ได้
4. แม้ผู้รับจำนองจะไม่ได้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนขายทอดตลาดตามมาตรา 298 นี้ ก็ไม่ทำให้จำนองระงับสิ้นไป เพราะการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองไม่ใช่เหตุทำให้การจำนองระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 744 การจำนองยังคงติดไปกับทรัพย์นั้น
อัตราค่าบริการว่าความคดียื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนอง
|
||
ลำดับ
|
รูปแบบคดี |
ราคา(บาท) |
1
|
ยื่นคำร้องต่อศาล |
-x- |
หมายเหตุ อัตรานี้เฉพาะคดีที่มีเขตอำนาจศาลอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน
นอกเหนือจากนี้ เพิ่มค่าเดินทางกิโลเมตรละ 5 บาท
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้พิธีสารมาดริดในประเทศไทย (Madrid Protocol)
เพื่อปกป้องปัญหา การละเมิดเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศ
กรณีเจ้าของสินค้าและบริการในไทย ไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนคุ้มครองไว้ อาจจะเกิดปัญหา เมื่อส่งออกสินค้าไป ก่อให้เกิดการละเมิด และอาจถูกจับได้
ประโยชน์
เมื่อเครื่องหมายการค้าได้รับการจดทะเบียนผ่านระบบมาดริดแล้ว จะได้รับการคุ้มครองทั้งในทางแพ่งและทางอาญาที่กฎหมายภายในประเทศนั้นระบุไว้
ขั้นตอน
1 เตรียมเอกสาร และยื่นคำขอต่อสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญา โดยเครื่องหมายที่ยื่นดังกล่าวต้องได้รับการจดทะเบียนไว้เรียบร้อยบแล้ว
2 สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญา ตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมชำระค่าธรรมเนียม แล้วส่งคำขอจดทะเบยนไปยังสำนักงานระหว่างประเทศ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก
3 สำนักงานระหว่างประเทศ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกตรวจสอบและตอบกลับ
4 หากถูกต้องครบถ่วน ดำเนินการกระจายคำขอจดทะเบียนไปยังประเทศต่างๆที่ถูกระบุขอรับความคุ้มครอง
5 สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศที่ถูกระบุความคุ้มครอง ตรวจสอบ ดำเนินการจดทะเบียน แล้วแจ้งผลกลับมายัง ภายใน 18 เดือน
ตัวอย่าง ข้อความรับรองความเป็นเจ้าของเอกสาร
To WHOM IT MAY CONCERN
I, Mr.Thanu Kun-on, the undersigned, an Attorney at Law with license No.2244/2555, registered as a Notarial Services Attorney qualified to certify signatures and document pursuant to the Regulation on Registration as an Attorney Qualified to Certify Signature and Document B.E.2551 (2008)
Do hereby certify that the attached Medical Certificate issue by HOSPITAL NAME is the examined of Mr.A, who has produced sufficient proof of his personal data with Thailand Passport and Thai National ID Card
I hereby assume no responsibility for the content of the documents.
Given on this 10 day of August 2018 in Bangkok. Kingdom of Thailand.
IN TESTIMONY WHEREOF, i have hereunto
subscribe my name and affix my seal this day of
Signature______________________
Mr. Thanu Kun-on
Notarial Services Attorney
Bangkok, Thailand
ข้อควรทราบ
1 ทนายความต้องตรวจสอบชื่อ จากบัตรประจำตัวประชาชนในข้อมูลตรงกัน
คำขอจดทะเบียน
1 ไฟล์รูปตัวอย่างของเครื่องหมาย (JPG / PNG) ขาวดำ หรือสี ขนาด 5×5 เซนติเมตร และรูปภาพขนาด 592 Pixel
2 ชื่อนามสกุล ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ ประเทศ อาชีพ
3 คำอธิบายรายการสินค้า / บริการ จำพวกที่จะขอรับความคุ้มครอง
4 หนังสือมอบอำนาจ หรือหนังสือแต่งตั้งตัวแทน ลงนาม พร้อมประทับตราบริษัท ปิดอากรแสตมป์ 60 บาท
5 บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือรับรองบริษัท ออกให้ไม่เกิน 6 เดือนนับถึงวันยื่นคำขอจดทะเบียน
6 Passport (กรณีชาวต่างชาติ)
7 วันที่ใช้เครื่องหมายการค้าเป็นครั้งแรก (ถ้ามี)
คำขอต่ออายุ
1 รายการสินค้า / บริการ ที่ต้องการต่ออายุ
2 หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน
3 หนังสือมอบอำนาจ หรือหนังสือแต่งตั้งตัวแทน ลงนาม พร้อมประทับตราบริษัท ปิดอากรแสตมป์ 60 บาท
4 บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือรับรองบริษัท ออกให้ไม่เกิน 6 เดือนนับถึงวันยื่นคำขอจดทะเบียน
5 ชื่อ ที่อยู่ เจ้าของหรือตั้งตัวแทนใหม่ กรณีแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการ