Main Menu
ตัวอย่างข้อความรับรอง
Contact Us
Notice
ค่าธรรมเนียมและภาษีอากร การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ***ที่สำคัญ***
1
การได้มาซึ่งที่ดินหรือการทำนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ คือที่ดินหรืออาคารบ้านเรือนจะต้องทำการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายที่ดินได้กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับประมวลกฎหมายที่ดินและกฎกระทรวงที่ถือปฏิบัติสำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม มีดังนี้
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่เราสามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย
(1). ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีทุนทรัพย์ ซึ่งรวมถึงการขาย แลกเปลี่ยนและการให้ที่ไม่ใช่การให้ระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส โดยเรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ร้อยละ 2
(2). ค่าจดทะเบียนโอนมรดกหรือให้เฉพาะในระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ร้อยละ 0.5
(3). ค่าจดทะเบียนการจำนองหรือบุริมสิทธิ ร้อยละ 1 แต่อย่างสูงไม่เกิน 200,000 บาท
(4). จดทะเบียนการเช่า จะมีค่าธรรมเนียมร้อยละ 1.1
นอกจากนี้พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ยังได้กำหนดค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอาคารชุดไว้ ซึ่งคำนิยามและรายละเอียดเกี่ยวกับอาคารชุดนั้น ผู้เขียนได้อธิบายไว้ในบทความก่อนหน้านี้แล้ว ในบทความนี้จะพูดถึงเพียงเรื่องของค่าธรรมเนียมเท่านั้น โดยค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอาคารชุด มีดังนี้
(1). ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีทุนทรัพย์ เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ร้อยละ 2 แต่อย่างต่ำต้องไม่น้อยกว่า 20 บาท
(2). ค่าจดทะเบียนโอนมรดกหรือให้ ทั้งนี้ เฉพาะในระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ร้อยละ 0.5
(3). ค่าจดทะเบียนการจำนอง หรือบุริมสิทธิ คิดตามราคาที่จำนอง หรือบุริมสิทธิที่จดทะเบียน ร้อยละ 1
(4). ค่าจดทะเบียนการเช่า คิดตามค่าเช่า ตลอดเวลาที่เช่า หรือเงินกินเปล่า หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ในกรณีเช่าตลอดชีวิต ให้คำนวณค่าเช่า เท่ากับระยะเวลาการเช่าสามสิบปีเศษ ร้อยละ 1
(5). ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่มีทุนทรัพย์ ห้องชุดละ 20 บาท
(6). ค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองห้องชุด เฉพาะในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ลดหย่อน ค่าธรรมเนียมเป็นพิเศษเพื่อ ประโยชน์สาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ให้เสียค่าธรรมเนียม ร้อยละ 0.01
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( หัก ณ ที่จ่าย ) = ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร
2. ค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรม ( ค่าโอน ) = 2 % จากราคาประเมินของกรม
3. ค่าจดจำนอง ( กรณีจำนองกับสถาบันการเงิน ) = 1% ของมูลค่าที่จำนอง (จำนวนที่กู้ทั้งหมด)
4. ค่าอากรแสตมป์ (ชำระอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง อากรแสตมป์ หรือธุรกิจเฉพาะ) = 0.50% ตามราคาซื้อขายแต่ ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินของกรม
5. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ( ไม่ต้องชำระหากถือครองเกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านเกินหนึ่งปี) = 3.3% ของราคาซื้อขายที่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินของกรม
โดยทั่วไปค่าภาษีเงินได้ ผู้ขายควรเป็นผู้ออก ส่วนค่าจดจำนอง ผู้ซื้อควรเป็นผู้ออก ส่วนค่าธรรมเนียมส่วนอื่น ก็แ่ล้วแต่ตกลงกันว่าใครจะออกเท่าใด (จะออกคนละครึ่งหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดออกทั้งหมด) แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นไม่ได้มีกฎตายตัวว่าใครต้องออกส่วนใดบ้าง ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เช่น ผู้ขายบางรายอาจให้ผู้ซื้อออกค่าโอนและค่าภาษีทุกอย่าง หรือผู้ขายบางรายอาจเป็นคนออกทั้งหมด (โดยที่ผู้ขายได้บวกค่าโอนต่างๆ เหล่านี้ไปในราคาขายแล้ว)
ทั้งนี้ผู้ซื้อและผู้ขายควรตกลงเรื่องค่าธรรมเนียมการโอนต่างๆ ก่อนทำการตกลงซื้อขายหรือก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขาย เพราะอาจมีการโต้เถึยงเกิดขึ้นได้ในวันโอน ทางที่ดีควรรวมรายละเอียดค่าธรรมเนียมการโอนไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายด้วยเพื่อป้องกันการโต้เถียงกันภายหลัง
ผู้ซื้อบ้านจากโครงการ ก็ควรอ่านรายละเอียดในสัญญาจะซื้อจะขายส่วนเรื่องค่าธรรมเนียมการโอนให้ละเอียด บางโครงการที่ไม่ค่อยรับผิดชอบ มักปัดภาระมาให้ผู้ซื้อออกค่าใช้จ่ายในการโอนทั้งหมด ซึ่งดูไม่ค่อยจะยุติธรรมสำหรับผู้ซื้อเท่าไหร่
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ค่าธรรมเนียม การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวล กฎหมายที่ดินเป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่๔๗ (พ.ศ.๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.๒๔๙๗ ข้อ ๒(๗) ดังนี้
"...........................................
ข้อ ๒ ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังนี้
...........................................
(๗) ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
(ก) ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีทุนทรัพย์ เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามที่คณะกรรมการ กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์กำหนด .
ร้อยละ ๒
(ข) ค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ เฉพาะในกรณีที่ องค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ หรือบริษัทจำกัด ที่สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การ บริหารสิน เชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.๒๕๔๐ จัดตั้งขึ้น เพื่อดำเนินการบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ โดยความเห็นชอบ ของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับโอนหรือโอนคืน หรือกรณีที่กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการ ก.ล.ต.เป็นผู้รับโอน ให้เรียกตาม ราคาประเมินทุนทรัพย์ตามที่คณะกรรมการกำหนด ราคาประเมินทุน ทรัพย์กำหนด
ร้อยละ ๐.๐๑ แต่อย่างสูงไม่เกิน๑๐๐,๐๐๐ บาท
(ค) ค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์เฉพาะในกรณี ที่มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ หรือมูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นผู้รับโอน หรือผู้โอน เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามที่ คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์กำหนด
.
ร้อยละ ๐.๐๐๑
(ง) ค่าจดทะเบียนโอนมรดกหรือให้ ทั้งนี้ เฉพาะใน ระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามที่ คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์กำหนด
ร้อยละ ๐.๕
(จ) ค่าจดทะเบียนเฉพาะในกรณีที่วัดวาอาราม วัดบาดหลวงโรมันคาธอลิค หรือมัสยิดอิสลาม เป็นผู้รับให้ เพื่อใช้เป็นที่ตั้งศาสนสถาน ทั้งนี้ ในส่วนที่ได้มารวมกับที่ดินที่มีอยู่ก่อนแล้วไม่เกิน ๕๐ ไร่ เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามที่ คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์กำหนด
ร้อยละ ๐.๐๑
(ฉ) ค่าจดทะเบียนการจำนองหรือบุริมสิทธิ
ร้อยละ ๑ แต่อย่างสูงไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
(ช) ค่าจดทะเบียนการจำนองหรือบุริมสิทธิสำหรับ การให้สินเชื่อเพื่อการเกษตรของสถาบันการเงิน ที่รัฐมนตรีกำหนด
.
ร้อยละ ๐.๕ แต่อย่างสูงไม่เกิน๑๐๐,๐๐๐ บาท
(ซ) ค่าจดทะเบียนการจำนอง หรือบุริมสิทธิ เฉพาะ ในกรณีที่องค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ หรือบริษัทจำกัดที่ สถาบันการเงินตามพระราช กฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริม ทรัพย์ พ.ศ.๒๕๔๐ จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการบริหารสินเชื่อ อสังหาริมทรัพย์โดยความเห็นชอบของ ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้ขอจดทะเบียน
.
ร้อยละ ๐.๐๑ แต่อย่างสูงไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
(ฌ) ค่าจดทะเบียนโอนสิทธิการรับจำนอง เฉพาะในกรณีที่สถาบันการเงินรับโอนสิทธิ เรียกร้อง จากการขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชีของบริษัท ที่ถูกระงับการดำเนิน กิจการตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นผู้ขอจดทะเบียน
.
ร้อยละ ๐.๐๑แต่อย่างสูงไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
(ญ) ค่าจดทะเบียนการจำนองสำหรับการให้สินเชื่อ เพื่อฟื้นฟูความเสียหายจากอุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย หรือมหันตภัยอื่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีกำหนด
.
ร้อยละ ๐.๐๑
(ฎ) ค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ และค่าจดทะเบียนการจำนองเฉพาะในกรณีที่ คณะ รัฐมนตรีมีมติให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมเป็นพิเศษ เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ร้อยละ ๐.๐๑
(ฏ) ค่าจดทะเบียนทรัพยสิทธิที่มีค่าตอบแทน ยกเว้นการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ที่มีทุนทรัพย์ตาม (ก)(ข)(ค)(ง)(จ) และ (ฎ)
.
ร้อยละ ๑
(ฐ) ค่าจดทะเบียนการเช่า
ร้อยละ ๑
(ฑ) ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่มีทุนทรัพย์
แปลงละ ๕๐ บาท
...................................................."
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒
ค่าธรรมเนียม เรียกเก็บตามกฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.๒๕๒๒ ข้อ ๑๖(๖) ดังนี้
"ข้อ ๑๖ ..............................................
.............................................
"(๖) ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ก. ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีทุนทรัพย์ เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดินกำหนด
ร้อยละ ๒
แต่อย่างต่ำต้องไม่น้อยกว่า
๒๐.๐๐ บาท
ข. ค่าจดทะเบียนโอนห้องชุดเฉพาะในกรณีที่องค์การ บริหารสินเชื่ออสังหาริม ทรัพย์ หรือบริษัทจำกัด ที่สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การ บริหาร สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2540 จัดตั้งขึ้น เพื่อดำเนินการบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ โดยความเห็นชอบ ของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับโอนหรือโอนคืน หรือกรณีที่กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะ กรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้รับโอน ให้เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุน ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดินกำหนด
.
. ร้อยละ ๐.๐๑
แต่อย่างสูงไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท
ค. ค่าจดทะเบียนโอนมรดกหรือให้ ทั้งนี้ เฉพาะในระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดินกำหนด
ร้อยละ ๐.๕
ง. ค่าจดทะเบียนการจำนอง หรือบุริมสิทธิ คิดตามราคาที่จำนอง หรือบุริมสิทธิที่จดทะเบียน
ร้อยละ ๑
จ. ค่าจดทะเบียนการจำนอง หรือบุริมสิทธิ เฉพาะในกรณีที่องค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ หรือบริษัทจำกัดที่สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2540จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์โดยความเห็นชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้ขอจดทะเบียน
.
ร้อยละ ๐.๐๑
แต่อย่างสูงไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท
ฉ. ค่าจดทะเบียนการเช่า คิดตามค่าเช่า ตลอดเวลาที่เช่า หรือเงินกินเปล่า หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ในกรณีเช่าตลอดชีวิต ให้คำนวณค่าเช่า เท่ากับระยะเวลาการเช่าสามสิบปีเศษของร้อย ตาม ก.ข.ค.ง.จ. และ ฉ.ให้คิด เป็นหนึ่งร้อย
. ร้อยละ ๑
.
ช. ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่มีทุนทรัพย์ ห้องชุดละ
.
๒๐.๐๐ บาท
ซ. ค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองห้องชุด เฉพาะในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ลดหย่อน ค่าธรรมเนียมเป็นพิเศษเพื่อ ประโยชน์สาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรี กำหนด ........................................................"
.
ร้อยละ ๐.๐๑
หมายเหตุ : การจดทะเบียนขายและการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์และห้องชุดที่ได้รับลดค่าธรรมเนียมเหลือร้อยละ ๐.๐๑ กรณีสนับสนุนการซื้อขายตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ซึ่งมีผลใช้บังคับถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๖ มีดังนี้
(๑) ที่ดิน อาคาร หรืออาคารพร้อมที่ดิน (ซึ่งอาคารเป็นประเภท บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว และอาคารพาณิชย์) ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน หรือที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินโดยทางราชการหรือองค์การของรัฐบาลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย
(๒) ห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดซึ่งจดทะเบียนอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรือห้องชุดในอาคารชุดซึ่งจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
การได้มาซึ่งที่ดินหรือการทำนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ คือที่ดินหรืออาคารบ้านเรือนจะต้องทำการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายที่ดินได้กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับประมวลกฎหมายที่ดินและกฎกระทรวงที่ถือปฏิบัติสำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม มีดังนี้
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่เราสามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย
(1). ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีทุนทรัพย์ ซึ่งรวมถึงการขาย แลกเปลี่ยนและการให้ที่ไม่ใช่การให้ระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส โดยเรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ร้อยละ 2
(2). ค่าจดทะเบียนโอนมรดกหรือให้เฉพาะในระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ร้อยละ 0.5
(3). ค่าจดทะเบียนการจำนองหรือบุริมสิทธิ ร้อยละ 1 แต่อย่างสูงไม่เกิน 200,000 บาท
(4). จดทะเบียนการเช่า จะมีค่าธรรมเนียมร้อยละ 1.1
นอกจากนี้พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ยังได้กำหนดค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอาคารชุดไว้ ซึ่งคำนิยามและรายละเอียดเกี่ยวกับอาคารชุดนั้น ผู้เขียนได้อธิบายไว้ในบทความก่อนหน้านี้แล้ว ในบทความนี้จะพูดถึงเพียงเรื่องของค่าธรรมเนียมเท่านั้น โดยค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอาคารชุด มีดังนี้
(1). ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีทุนทรัพย์ เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ร้อยละ 2 แต่อย่างต่ำต้องไม่น้อยกว่า 20 บาท
(2). ค่าจดทะเบียนโอนมรดกหรือให้ ทั้งนี้ เฉพาะในระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ร้อยละ 0.5
(3). ค่าจดทะเบียนการจำนอง หรือบุริมสิทธิ คิดตามราคาที่จำนอง หรือบุริมสิทธิที่จดทะเบียน ร้อยละ 1
(4). ค่าจดทะเบียนการเช่า คิดตามค่าเช่า ตลอดเวลาที่เช่า หรือเงินกินเปล่า หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ในกรณีเช่าตลอดชีวิต ให้คำนวณค่าเช่า เท่ากับระยะเวลาการเช่าสามสิบปีเศษ ร้อยละ 1
(5). ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่มีทุนทรัพย์ ห้องชุดละ 20 บาท
(6). ค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองห้องชุด เฉพาะในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ลดหย่อน ค่าธรรมเนียมเป็นพิเศษเพื่อ ประโยชน์สาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ให้เสียค่าธรรมเนียม ร้อยละ 0.01