Company Logo

Contact Us

Notice

คู่มือประชาชน สำหรับการติดต่อราชการ

 การจดทะเบียนสมรส 

ยื่นคำร้องที่ฝ่ายทะเบียน : สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ แห่งใดก็ได้

คุณสมบัติ

1. ชาย - หญิง อายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์

2. ไม่เป็นคนวิกลจริตหรือไร้ความสามารถ

3. ไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตตรงขึ้นไปหรือลงมา ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา

4. ไม่เป็นผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมกัน

5. ไม่มีคู่สมรสอื่น

6. หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ได้ ก็ต่อมาการสมรสครั้งก่อนสิ้นสุดไปแล้ว ไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่ คลอดบุตรในระหว่างนั้น สมรสกับคู่สมรสเดิม มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ หรือศาลมีคำสั่งให้สมรสได้

 

หลักฐาน

1. บัตรประจำตัวประชาชน

2. ทะเบียนบ้าน

3. กรณียังไม่บรรลุนิติภาวะ บิดามารดา ผู้ใช้อำนาจปกครองต้องยินยอมด้วย

4. ใบสำคัญการหย่า กรณีเคยสมรสมาก่อน

5. ใบมรณบัตร กรณีคู่สมรสเดิมตาย

6. คำสั่งหรือคำพิพากษาศาล

7. พยาน 2 คน

 

กรณีจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ

หลักฐาน

1. บัตรประจำตัวประชาชน ตัวจริง

2. หนังสือเดินทาง(Passport)ชาวต่างชาติ ตัวจริง ผ่านการรับรองจากสถานทูตพร้อมแปลภาษาไทย และออกเลขที่นิติกรณ์จากกระทรวงการต่างประเทศ

3. หนังสือรับรองคุณสมบัติ ในการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยจากสถานทูต พร้อมคำแปลภาษาไทย และออกเลขที่นิติกรณ์จากกระทรวงการต่างประเทศ

4. ใบสำคัญการหย่า (กรณีเคยหย่ามาแล้ว) ตัวจริง 

5. ใบสำคัญการสมรส + มรณบัตรของคู่สมรสเดิม (กรณีจดทะเบียนสมรสและคู่สมรสเดิมเสียชีวิต) ตัวจริง

6. พยานบุคคลที่เป็นคนไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 2 คน (สามารถเป็นล่ามแปลภาษาได้ 1 คน) พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน ตัวจริง

 

หมายเหตุ หนังสือรับรองคุณสมบัติตามข้อ 3 ต้องมีรายละเอียดดังนี้

1. ต้องมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะจดทะเบียนสมรสกับคนไทยได้ตามกฎหมายไทย

2. สถานภาพการสมรสของฝ่ายที่เป็นชาวต่างชาติ

3. ประกอบอาชีพอะไร และมีรายได้เท่าใด

4. บุคคลอ้างอิงได้ จำนวน 2 คน ที่มีภูิมลำเนาหรือที่อยู่เดียวกันกับฝ่ายที่เป็นชาวต่างชาติ

 

 การจดทะเบียนหย่า

ยื่นคำร้องที่ฝ่ายทะเบียน : สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ แห่งใดก็ได้

หลักฐาน

1. บัตรประจำตัวประชาชน

2. ทะเบียนบ้าน

3. ใบสำคัญการสมรส

4. หนังสือยินยอมหย่า ที่มีพยานลงลายมือชื่อ 2 คน

5. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว - นามสกุล

6. คำพิพากษาศาล หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด พร้อมรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ศาล

7. พยาน 2 คน 

 

• การจดทะเบียนรับรองบุตร

ยื่นคำร้องที่ฝ่ายทะเบียน : สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ แห่งใดก็ได้

หลักฐาน

1. บัตรประจำตัวประชาชน

2. ทะเบียนบ้าน

3. สูติบัตร

4. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว - นามสกุล

5. คำพิพากษาหรือคำสั่งศาล หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด พร้อมรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ศาล

6. พยาน 2 คน

7. เด็กและมารดาต้องมาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน

8. กรณีเด็กและมารดาไม่มาให้ความยินยอม นายทะเบียนจะมีหนังสือสอบถามไปยังเด็กและมารดาว่ายินยอมหรือไม่

 

• การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว

ยื่นคำร้องที่ฝ่ายทะเบียน : สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ แห่งใดก็ได้

หลักฐาน

1. บัตรประจำตัวประชาชน

2. ทะเบียนบ้าน

3. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนครอบครัว เช่น สมรส หย่า รับบุตรบุญธรรม เป็นต้น

4. เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการนั้นที่ทำขึ้นในต่างประเทศ โดยแปลเป็นภาษาไทย และรับรองจากรกะทรวงต่างประเทศ หรือสถานทูต สถานกงสุลของไทย หรือสถานทูต สถานกงศุลของประเทศนั้นๆแล้ว

5. พยาน 2 คน

 

ข้อควรทราบ : ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย มีสัญชาติไทย

 

• หนังสือรับรองอำนาจปกครองบุตร เพื่อขอ Passport / Visa

ยื่นคำร้องที่ฝ่ายทะเบียน : สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่แม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ไม่ดูลูก)

หลักฐาน (ตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด)

1. สูติบัตรของลูก

2. ทะเบียนบ้านลูก แม่ และพยาน 2 คน

3. บัตรประจำตัวประชาชน ลูก(ถ้ามี) แม่ และพยาน 2 คน

4. ใบสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อนามสกุล(ถ้ามี)

 

คุณสมบัติของพยาน 2 คน

1. อายุ 20 ปีขึ้นไป

2. ใครก็ได้ แต่ควรเป็นญาติกับแม่เด็ก เนื่องจากนายทะเบียนอาจจะสอบสวนเพิ่มเติม

 

หมายเหตุ

1. เด็กไม่ต้องไปด้วยก็ได้

2. ทำวันเดียวเสร็จ ก่อนออกหนังสือ นายทะเบียนจะทำเรื่องไปขอตรวจสอบการจดทะเบียนรับรองบุตรก่อน

3. เอกสารตัวจริงเก็บไว้ เวลาใช้ให้ใช้สำเนา โดยจะใช้ไปตลอดจนกว่าเด็กจะอายุ 20 ปี




Powered by Joomla!®. Designed by: joomla 1.6 templates web hosting Valid XHTML and CSS.