Company Logo

Contact Us

Notice

การบังคับคดี คือ การดำเนินการเพื่อให้โจทก์ได้รับสิทธิตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล โดยการตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี สังกัดกรมบังคับคดี ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย

 

บริการสืบทรัพย์ บังคับคดี

» สืบค้นทรัพย์สินจำเลย เช่น ที่ดิน บ้าน ห้องชุด คอนโดมิเนียม รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เป็นต้น

» ยึด อายัดทรัพย์สิน

» ขายทอดตลาด

» ขับไล่ ดำเนินการรื้อถอน

 

ขั้นตอน

ภายหลังศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง > คำบังคับ > หมายบังคับคดี โจทก์ขอตั้งเรื่องขอบังคับคดี ณ สนง.บังคับคดี

 

ขั้นตอนการตั้งเรื่องขอบังคับคดี

1 สืบหาทรัพย์สิน

2 เตรียมเอกสารส่งประกอบการยึด อายัดทรัพย์สิน 

3 ยื่นคำขอยึด - อายัด โดยแสดงรายละเอียดทรัพย์สิน

วางเงินประกันค่าใช้จ่าย

5 เตรียมพาหนะ นำเจ้าพนักงานไปดำเนินการ

 

เตรียมเอกสารประกอบการยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำการ

ยึดที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ดังนี้

1 ต้นฉบับโฉนดที่ดิน ถ้าเป็นสำเนาต้องให้เจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

2 หนังสือรับรองราคาประเมิน

3 สัญญาจำนอง (ถ้ามี)

3.1 กรณียึดจาก developer ต้องขอคัดหนังสือเฉลี่ยหนี้ พร้อมโฉนดที่ดินหลักด้วย

4 สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย ผู้ถือกรรมสิทธิ์ คู่สมรสของจำเลย ทายาทของจำเลยผู้ตาย ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

5 หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุล ของโจทก์และจำเลย (ถ้ามี)

6 หนังสือรับรองบริษัท / ห้องหุ้นส่วน / บริษัทจำกัด(มหาชน) กรณีเป็นนิติบุคคล

7 แผนที่การเดินทางไปที่ตั้งทรัพย์ที่ยึด พร้อมสำเนา 1 ชุด

8 ภาพถ่ายปัจจุบัน ของทรัพย์ที่จะยึด และแผนผังของทรัพย์ที่จะยึด โดยระบุขนาดกว้าง - ยาว

9 หนังสือมอบอำนาจ(หากมี)

10 เขียนคำขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการ(แบบ 3ก)

11 วางเงินค่าใช้จ่าย สำนวนละ 2,500 บาท

 

ยึดห้องชุด หรือคอนโดมิเนียม ดังนี้

1 ต้นฉบับหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด ถ้าเป็นสำเนาต้องให้เจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

2 หนังสือรับรองราคาประเมิน

3 สัญญาจำนอง(ถ้ามี)

3.1 กรณียึดจาก developer ต้องขอคัดหนังสือเฉลี่ยหนี้ พร้อมโฉนดที่ดินหลักด้วย

4 สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย ผู้ถือกรรมสิทธิ์ คู่สมรสของจำเลย ทายาทของจำเลยผู้ตาย ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

5 หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุล ของโจทก์และจำเลย (ถ้ามี)

6 หนังสือรับรองบริษัท / ห้องหุ้นส่วน / บริษัทจำกัด(มหาชน) กรณีเป็นนิติบุคคล

7 แผนที่การเดินทางไปที่ตั้งทรัพย์ที่ยึด พร้อมสำเนา 1 ชุด

8 ภาพถ่ายปัจจุบัน ของทรัพย์ที่จะยึด และแผนผังของทรัพย์ที่จะยึด โดยระบุขนาดกว้าง - ยาว

9 หนังสือรับรองนิติบุคคลอาคารชุดที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

10 หนังสือมอบอำนาจ(หากมี)

11 เขียนคำขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการ(แบบ 3ก)

12 วางเงินค่าใช้จ่าย สำนวนละ 2,500 บาท

 

ยึดทรัพย์สิน ประเภทสังหาริมทรัพย์

1 สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย หรือคู่สมรส (กรณีสินสมรส) ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

2 หนังสือมอบอำนาจ(หากมี)

3 เขียนคำขอยึดทรัพย์ตาม แบบ 7 แจ้งสถานที่ที่จะไปยึดทรัพย์สิน

4 วางค่าใช้จ่าย สำนวนละ 1,500 บาท

5 เตรียมยานพาหนะ สำหรับรับ ส่ง เจ้่าพนักงานบังคับคดี

6 เตรียมยานพาหนะและคนเพื่อนขนย้ายทรัพย์สินที่ยึดไปเก็บรักษา ณ สำนักงานบังคับคดี

 

ขับไล่และรื้อถอน

1 เขียนคำร้อง แบบ 7 ขอให้ขับไล่ รื้อถอน

2 หนังสือมอบอำนาจ(หากมี)

3 เตรียมยานพาหนะ สำหรับรับ ส่ง เจ้่าพนักงานบังคับคดี

4 เตรียมคนงานในการรื้อถอนและยานพาหนะ สำหรับขนย้าย

5 วางค่าใช้จ่าย สำนวนละ 1,500 บาท

 

ระยะเวลาในการบังคับคดี : ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง(ม.275)

เมื่อแจ้งการยึดไปยังลูกหนี้และผู้มีส่วนได้เสียแล้ว เจ้าพนักงานจะดำเนินการ รายงานศาลขอนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาด

 

ขั้นตอนการประกาศขายทอดตลาด

1 จัดทำประกาศขาย ระบุ รายละเอียดทรัพย์ ราคาประเมิน วัน เวลา สถานที่ขาย พร้อมข้อสังเกต คำเตือน เงื่อนไข

2 ส่งประกาศขายให้ผู้มีส่วนได้เสีย

3 ปิดประกาศขายไว้โดยเปิดเผย

 

ขั้นตอนการขายทอดตลาด

1 ไม่มีผู้เสนอราคา ให้งดขาย

2 มีผู้เสนอราคาสูงสุดและเป็นราคาที่สมควรขาย ไม่มีผู้คัดค้านราคา ให้เคาะไม้ขาย

3 มีผู้คัดค้านราคา เลื่อนการขายไปนัดหน้า ผู้เสนอราคาสูงสุดผูกพันกับการเสนอราคา 30 วัน

4 กำหนดขายนัดต่อไป เคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุด           

 

การชำระราคาค่าซื้อทรัพย์

» สังหาริมทรัพย์ ชำระเงินสดทันที

» อสังหาริมทรัพย์ เงินที่วางเป็นหลักประกันเป็นเงินมัดจำเงินที่เหลือชำระภายใน 15 วัน มีเหตุจำเป็นขอขยายเวลาวางเงินได้ 3 เดือน

 

การอายัดทรัพย์สิน

สิทธิเรียกร้องที่อายัดได้

1 เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา

2 โบนัส

3 เงินตอบแทน กรณีออกจากงาน

4 เงินฝากในบัญชีธนาคาร สถาบันการเงิน

5 เงินปันผลหุ้น

6 ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าทรัพย์สิน ค่างวดงานตามสัญญาจ้างงาน ฯลฯ

 

การอายัดเงินลูกหนี้ รายละเอียดดังนี้

1 เงินเดือน ค่าจ้าง ไม่เกิน 30 % ในส่วนที่เกิน 20,000 บาท

2 โบนัส ไม่เกิน 50%

3 เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา ไม่เกิน 30%

4 เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน 100% ในส่วนที่เกินกว่า 300,000 บาท

 

เตรียมเอกสารประกอบการอายัด ดังนี้

1 สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลของ รับรองไม่เกิน 1 เดือน

2 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

3 หลักฐานแห่งสิทธิเรียกร้องหรือสำเนาเอกสารที่มีข้อความระบุถึงความมีอยู่ของเงิน

4 สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของบุคคลภายนอกผู้รับคำสั่งอายัด นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน

5 สำเนาคำฟ้องและสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยในชั้นฟ้อง

6 เอกสารอื่นๆ ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด 

 

การพิจารณาลดอายัดเงินเดือน 

1 ลูกหนี้ขอลดการอายัด ส่งหนังสือรับรองเงินเดือน หลักฐานความจำเป็น

2 เจ้าพนักงานพิจารณาลดอายัดเงินได้ ไม่เกินกึ่งหนึ่ง

3 เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ไม่เห็นชอบ ให้ร้องต่อศาลเพื่อกำหนดจำนวนเงินที่อายัดใหม่

 

รวบรวม คำถามยอดนิยม

ข้อ 1 ยึดที่ดินของลูกหนี้ซึ่งติดจำนองธนาคาร ได้ไหม?

ตอบ ได้ แต่เงินที่ขายทอดตลาดได้ เจ้าหนี้จำนองจะมีสิทธิได้รับเป็นอันดับแรก

 

ข้อ 2 ยึดทรัพย์นำอออกขายตลาดแล้วได้รับเงินไม่พอชำระหนี้ จะยึดทรัพย์ลูกหนี้ได้อีกไหม?

ตอบ สามารถยึดทรัพย์สินได้อีก ภายใน 10 ปีนับแต่ศาลมีคำพิพากษา

 

ข้อ 3 อายัดเงินเดือนข้าราชการได้ไหม?

ตอบ ไม่ได้ เว้นแต่อายัดค่าอุปการะเลี้ยงดู ตามพรบ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.พ.2553

 

ข้อ 4 ลูกหนี้ทำงานอยู่ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ขออายัดเงินเดือนได้ไหม?

ตอบ อายัดได้ เช่น การรถไฟ ขสมก. การประปา การไฟฟ้า การท่าเรือ การบินไทย ไปรษณีย์ไทย เป็นต้น

 

ข้อ 5 เจ้าหนี้ขอตรวจสอบว่าลูกหนี้ถูกอายัดเงินเดือนได้ไหม?

ตอบ ได้ โดยขอตรวจสอบ ณ สำนักงานบังคับคดี

 

ข้อ 6 ครบ 10 ปีแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระหนี้ครบถ้วน จะขออายัดเงินเดือนต่อไปได้ไหม?

ตอบ ได้จนกว่าจะครบถ้วน แม้ระยะเวลาจะเกิน 10 ปี ไม่ขาดดอายุความ อ้างอิงตามคำพิพากษาศาลฏีกาที่ 1216/2556

 

ข้อ 7 ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดได้แล้ว เจ้าของเดิมไม่ยอมออกไป ต้องดำเนินการอย่างไร?

ตอบ ยื่นคำร้องขอศาลออกคำบังคับให้เจ้าของเดิมพร้อมบริวารออกไปจากทรัพย์ที่ซื้อภายในเวลาที่ศาลกำหนด ไม่น้อยกว่า 30 วัน

 

ข้อ 8 การดำเนินการขายทอดตลาด จะขาย ณ ที่ใด?

ตอบ ขาย ณ ที่ทำการของสำนักงานบังคับคดีท้องที่ที่ทรัพย์ตั้งอยู่

 

ข้อ 9 กรณีบังคับคดีนอกเขตศาลที่มีคำพิพากษาตั้งทำอย่างไร?

ตอบ นำคำบังคับไปขอศาลที่มีเขตอำนาจในที่ตั้งทรัพย์ ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี หากมีการแก้ไข ก็สามารถยื่นต่อศาลนั้นได้เช่นกัน

 

 

อัตราค่าบริการดำเนินการชั้นบังคับคดี

 

 

ลำดับ

 

 

รูปแบบงาน

 

ราคา(บาท)

 

1

 

 

สืบค้าทรัพย์สินลูกหนี้หรือจำเลย ที่ดิน บ้าน

คอนโนมิเนียม รถยนต์ 

 

x

 

2

 

 

ยึดทรัพย์ นำออกขายทอดตลาด

 

x

 

3

 

 

อายัดเงินเดือน เงินฝาก

 

x




Powered by Joomla!®. Designed by: joomla 1.6 templates web hosting Valid XHTML and CSS.