Company Logo

Contact Us

Notice

การถูกกำจัดมิให้รับมรดก สามารถทำได้ 2 กรณี คือ

1 เป็นผู้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก

2 เป็นผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร

คำอธิบาย

» กรณี ข้อ 1 บุคคลที่จะถูกกำจัดมิให้รับมรดก หมายถึง เฉพาะ "ทายาท" ของเจ้ามรดกเท่านั้น หากเป็นผู้สืบสิทธิของทายาท ไม่ต้องถูกกำจัดไม่ให้รับมรดก

» ทรัพย์สินที่ยักย้ายหรือปิดบัง ต้องเป็น "ทรัพย์มรดก" เท่านั้น ส่วนดอกผลของทรัพยมรดกที่เกิดขึ้นภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย

 

กรณีที่ถือว่า ยักย้ายหรือปิดปังทรัพย์มรดก เช่น

» ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนของผู้ตายโดยการครอบครองปรปักษ์

» ทายาทไปรับโอนมรดกแต่เพียงผู้เดียว และโอนให้แก่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้ัรับมรดก

» แจ้งแก่ทายาทคนอื่นว่า ผู้ตายได้โอนทรัพย์มรดกไปแล้วในขณะที่มีชีวิตอยู่ ซึ่งความจริงไม่ได้โอน แล้วโอนทรัพย์มรดกเป็นของตนเอง

 

กรณีที่ยังไม่ถือ ว่าเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก

» ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก โดยไม่ได้ระบุว่าผู้ใดเป็นทายาท หรือไม่ได้ระบุทรัพย์มรดกทั้งหมด

» ผู้รับพินัยกรรมปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์เฉพาะสิ่งตามพินัยกรรม

 

การถูกกำจัดมิให้รับมรดกหลังเจ้ามรดกตาย ผู้สืบสันดานก็ยังสืบมรดกต่อไปได้

กรณีทายาทถูกกำจัด ก่อน เจ้ามรดกตาย ผู้สืบสันดานของทายาท ย่อมเข้ารับมรดกแทนที่ได้

กรณีทายาทถูกกำจัด หลัง เจ้ามรดกตาย ผู้สืบสันดาน เข้าสืบมรดกต่อไปได้เสมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้ว

 

คำพิพากษาศาลฏีกาที่น่าสนใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2545

    ทายาทที่จะถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1605 มุ่งเฉพาะบุคคลที่เป็นทายาทของเจ้ามรดกขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายฉะนั้น เมื่อขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม มีทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิได้รับมรดก คือ พ. ซึ่งเป็นสามีโจทก์ที่ 1 จำเลย อ. และ ซ. มารดาของผู้ตาย แม้ว่าโจทก์ที่ 1 จะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ พ. แต่จะมีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายก็เพียงในฐานะผู้สืบสิทธิของ พ. โดยรับมรดกเฉพาะส่วนของ พ. เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 1 เป็นทายาทอันจะถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5382/2539

    จำเลยที่ ไปรับโอนมรดกแต่ผู้เดียว และนำที่ดินทรัพย์มรดกซึ่งตกได้แก่โจทก์ทั้งสาม และจ.ด้วยไปโอนให้แก่จำเลยที่ ซึ่งไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก จึงเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่าจำเลยที่ จึงถูกกำจัดมิให้รับมรดกเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1605 ส่วนจำเลยที่ ไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกการกระทำของจำเลยที่ จึงไม่เป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ โดยทราบว่าโจทก์ทั้งสามและจ. เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริตจำเลยที่ ถึงที่ เป็นบุตรของจำเลยที่ มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมโดยการยกให้โดยเสน่หาของจำเลยที่ จึงเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนโจทก์ทั้งสาม จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 จำเลยที่ ถึงที่ ขายที่ดินให้จำเลยที่ หลังจากโจทก์ที่ ได้อายัดที่ดินไว้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยกรรมการของจำเลยที่ ทราบเรื่องแล้วถือว่าจำเลยที่ รับโอนโดยไม่สุจริต โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิให้เพิกถอนการโอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ได้เช่นกัน ผู้ที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่บุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755 จำเลยที่ และที่ ถึงที่ ไม่ใช่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกทั้งจำเลยที่ ถูกกำจัดมิให้รับมรดกจำเลยที่ จึงไม่อยู่ในฐานะทายาทการที่จำเลยที่ รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ แล้วให้จำเลยที่ ถึงที่ ถือกรรมสิทธิ์รวมจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ และที่ ถึงที่ เป็นบุคคลซึ่งชอบจะใช้สิทธิของทายาท จึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสาม

 

หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง 

มาตรา 1605 ทายาทคนใดยักย้าย หรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้น โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลย แต่ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้น

    มาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น

มาตรา 1606 บุคคลดังต่อไปนี้ ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(1) ผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทำ หรือพยายามกระทำให้เจ้ามรดก หรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตาย โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

(2) ผู้ที่ได้ฟ้องเจ้ามรดกหาว่าทำความผิดโทษประหารชีวิตและตนเองกลับต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่า มีความผิดฐานฟ้องเท็จหรือทำพยานเท็จ

(3) ผู้ที่รู้แล้วว่า เจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนา แต่มิได้นำข้อความนั้นขึ้นร้องเรียนเพื่อเป็นทางที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่ข้อนี้มิให้ใช้บังคับถ้าบุคคลนั้นมีอายุยังไม่ครบสิบหกปีบริบูรณ์ หรือเป็นคนวิกลจริตไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือถ้าผู้ที่ฆ่านั้นเป็นสามีภริยาหรือผู้บุพการีหรือผู้สืบสันดานของตนโดยตรง

(4) ผู้ที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำ หรือเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดก หรือไม่ให้กระทำการดังกล่าวนั้น

(5) ผู้ที่ปลอม ทำลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด

    เจ้ามรดกอาจถอนข้อกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควรเสียก็ได้โดยให้อภัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

 

การตัดทายาทมิให้รับมรดก สามารถทำได้ 2 กรณี คือ

1 โดยพินัยกรรมแบบใดๆก็ได้ 

2 โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ 

» เมื่อทายาทถูกตัดมิให้รับมรดกแล้ว ย่อมมิใช่ทายาท ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งย์มรดก

» ผู้สืบสันดานของผู้ที่ถูกตัดมิให้รับมรดกรับมรดกแทนที่ไม่ได้

» หนังสือตัดมิให้รับมรดก มีผลทันทีที่ทำขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย

» กรณีตัดมิให้รับมรดกโดยปริยาย คือ เจ้ามรดกทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินทั้งหมดแล้ว ให้แก่คนใดคนหนึ่งแต่เพียงผู้เดียว

 

การถอนการตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก สามารถกระทำได้ดังนี้

1 ถ้าการตัดมิให้รับมรดก ได้ทำโดยพินัยกรรม จะถอนเสียได้ก็แต่โดยพินัยกรรมเท่านั้น

2 ถ้าการตัดมิให้รับมรดกได้ทำเป็นหนังสือมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การถอนจะทำโดยพินัยกรรม หรือทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่

 

คำพิพากษาศาลฏีกาที่น่าสนใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2540

    พินัยกรรมของพ. มีข้อความว่า เมื่อข้าพเจ้าเสียชีวิตลงให้ทรัพย์มรดกของข้าพเจ้าแก่จำเลยแต่เพียงผู้เดียว คำว่าทรัพย์มรดกของข้าพเจ้าแสดงว่าต้องการยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่จำเลยแต่เพียงผู้เดียว แม้ในตอนท้ายของพินัยกรรมจะระบุเลขที่โฉนดที่ดินทรัพย์มรดกไว้ด้วย ก็ไม่ทำให้ทรัพย์มรดกอื่นที่มิได้แจ้งรายละเอียดไว้ในพินัยกรรมเป็นทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมไปได้ เมื่อพ. ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่จำเลยแล้ว จึงถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมถูกตัดมิให้รับมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 วรรคสอง

 

หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง 

มาตรา 1608 เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใด มิให้รับมรดกก็ได้ แต่ด้วยแสดงเจตนาชัดแจ้ง

(1) โดยพินัยกรรม

(2) โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่

    ตัวทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกนั้น ต้องระบุไว้ให้ชัดเจน

    แต่เมื่อบุคคลใดได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมดแล้ว ให้ถือว่าบรรดาทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก

มาตรา 1609 การแสดงเจตนาตัดมิให้รับมรดกนั้น จะถอนเสียก็ได้

    ถ้าการตัดมิให้รับมรดกนั้นได้ทำโดยพินัยกรรม จะถอนเสียได้ก็แต่โดยพินัยกรรมเท่านั้น แต่ถ้าการตัดมิให้รับมรดกได้ทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การถอนจะทำตามแบบใดแบบหนึ่งดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 1608 (1) หรือ (2) ก็ได้

 

การสละมรดก สามารถทำได้ 2 กรณี คือ

1 ทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ 

2 ทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

» มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย ซึ่งเมื่อสละแล้วจะถอดเสียมิได้ จึงไม่เป็นทายาทแล้ว และไม่สามารถร้องขอตั้งหรือถอนผู้จัดการมรดกได้

» แต่การสละนั้น จะทำเพียงบางส่วน หรือทำโดยมีเงื่อนไข หรือมีเงื่อนเวลาไม่ได้ และเมื่อสละแล้ว จะถอนไม่ได้

» ส่วนในกรณี ผู้รับพินัยกรรม สละมรดกนั้น ผู้สืบสันดานไม่มีสิทธิรับมรดกที่สละนั้น

» สละมรดกล่วงหน้าในขณะที่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ไม่ได้ จะสมบูรณ์ด้วยการใช้สัตยาบันหรือให้การรับรองก็ไม่ได้ ต้องทำภายหลังจากที่มีสิทธิได้รับมรดกแล้ว เท่านั้น การสละก่อน ถือเท่ากับว่าไม่มีการสละมรดก ยังคงมีสิทธิในทรัพย์มรดกในส่วนที่ตนจะพึงได้รับ หากต้องการให้่สมบูรณ์ต้องแสดงเจตนาใหม่ให้ถูกต้อง

» การสละมรดกโดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายถึง ผู้อำนวยการเขต หรือนายอำเภอ แล้วแต่กรณี 

» การสละมรดกโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องทำ 2 ฝ่าย การแสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียว ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2538

    การสละมรดกจะต้องแสดงเจตนาชัดแจ้ง เป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 โดยกฎกระทรวงกับพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจในกรณีแรกได้แก่ผู้อำนวยการเขต ถ้าทำในกรุงเทพมหานคร หรือนายอำเภอถ้าทำในต่างจังหวัด ฉะนั้นการที่โจทก์กับ ศ. ทำหนังสือสละมรดกให้ไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดิน จึงมิใช่หนังสือสละมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612

 

หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 1612 การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

มาตรา 1613 การสละมรดกนั้น จะทำแต่เพียงบางส่วน หรือทำโดยมีเงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาไม่ได้

    การสละมรดกนั้น จะถอนเสียมิได้




Powered by Joomla!®. Designed by: joomla 1.6 templates web hosting Valid XHTML and CSS.