Company Logo

Contact Us

Notice

คู่มือประชาชน สำหรับการติดต่อราชการ

 การจดทะเบียนสมรส 

ยื่นคำร้องที่ฝ่ายทะเบียน : สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ แห่งใดก็ได้

คุณสมบัติ

1 ชาย - หญิง อายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์

2 ไม่เป็นคนวิกลจริตหรือไร้ความสามารถ

3 ไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตตรงขึ้นไปหรือลงมา ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา

4 ไม่เป็นผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมกัน

5 ไม่มีคู่สมรสอื่น

6 หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ได้ ก็ต่อมาการสมรสครั้งก่อนสิ้นสุดไปแล้ว ไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่ คลอดบุตรในระหว่างนั้น สมรสกับคู่สมรสเดิม มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ หรือศาลมีคำสั่งให้สมรสได้

 

หลักฐาน

1 บัตรประจำตัวประชาชน

2 ทะเบียนบ้าน

3 กรณียังไม่บรรลุนิติภาวะ บิดามารดา ผู้ใช้อำนาจปกครองต้องยินยอมด้วย

4 ใบสำคัญการหย่า กรณีเคยสมรสมาก่อน

5 ใบมรณบัตร กรณีคู่สมรสเดิมตาย

6 คำสั่งหรือคำพิพากษาศาล

7 พยาน 2 คน

 

กรณีจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ

หลักฐาน

1 บัตรประจำตัวประชาชน ตัวจริง

2 หนังสือเดินทาง(Passport)ชาวต่างชาติ ตัวจริง ผ่านการรับรองจากสถานทูตพร้อมแปลภาษาไทย และออกเลขที่นิติกรณ์จากกระทรวงการต่างประเทศ

3 หนังสือรับรองคุณสมบัติ ในการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยจากสถานทูต พร้อมคำแปลภาษาไทย และออกเลขที่นิติกรณ์จากกระทรวงการต่างประเทศ

4 ใบสำคัญการหย่า (กรณีเคยหย่ามาแล้ว) ตัวจริง 

5 ใบสำคัญการสมรส + มรณบัตรของคู่สมรสเดิม (กรณีจดทะเบียนสมรสและคู่สมรสเดิมเสียชีวิต) ตัวจริง

6 พยานบุคคลที่เป็นคนไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 2 คน (สามารถเป็นล่ามแปลภาษาได้ 1 คน) พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน ตัวจริง

 

หมายเหตุ หนังสือรับรองคุณสมบัติตามข้อ 3 ต้องมีรายละเอียดดังนี้

1 ต้องมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะจดทะเบียนสมรสกับคนไทยได้ตามกฎหมายไทย

2 สถานภาพการสมรสของฝ่ายที่เป็นชาวต่างชาติ

3 ประกอบอาชีพอะไร และมีรายได้เท่าใด

4 บุคคลอ้างอิงได้ จำนวน 2 คน ที่มีภูิมลำเนาหรือที่อยู่เดียวกันกับฝ่ายที่เป็นชาวต่างชาติ

 

 การจดทะเบียนหย่า

ยื่นคำร้องที่ฝ่ายทะเบียน : สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ แห่งใดก็ได้

หลักฐาน

1 บัตรประจำตัวประชาชน

2 ทะเบียนบ้าน

3 ใบสำคัญการสมรส

4 หนังสือยินยอมหย่า ที่มีพยานลงลายมือชื่อ 2 คน

5 หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว - นามสกุล

6 คำพิพากษาศาล หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด พร้อมรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ศาล

7 พยาน 2 คน 

 

• การจดทะเบียนรับรองบุตร

ยื่นคำร้องที่ฝ่ายทะเบียน : สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ แห่งใดก็ได้

หลักฐาน

1 บัตรประจำตัวประชาชน

2 ทะเบียนบ้าน

3 สูติบัตร

4 หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว - นามสกุล

5 คำพิพากษาหรือคำสั่งศาล หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด พร้อมรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ศาล

6 พยาน 2 คน

7 เด็กและมารดาต้องมาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน

8 กรณีเด็กและมารดาไม่มาให้ความยินยอม นายทะเบียนจะมีหนังสือสอบถามไปยังเด็กและมารดาว่ายินยอมหรือไม่

 

• การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว

ยื่นคำร้องที่ฝ่ายทะเบียน : สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ แห่งใดก็ได้

หลักฐาน

1 บัตรประจำตัวประชาชน

2 ทะเบียนบ้าน

3 หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนครอบครัว เช่น สมรส หย่า รับบุตรบุญธรรม เป็นต้น

4 เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการนั้นที่ทำขึ้นในต่างประเทศ โดยแปลเป็นภาษาไทย และรับรองจากรกะทรวงต่างประเทศ หรือสถานทูต สถานกงสุลของไทย หรือสถานทูต สถานกงศุลของประเทศนั้นๆแล้ว

5 พยาน 2 คน

 

ข้อควรทราบ : ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย มีสัญชาติไทย

 

• หนังสือรับรองอำนาจปกครองบุตร เพื่อขอ Passport / Visa

ยื่นคำร้องที่ฝ่ายทะเบียน : สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่แม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ไม่ดูลูก)

หลักฐาน (ตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด)

1 สูติบัตรของลูก

2 ทะเบียนบ้านลูก แม่ และพยาน 2 คน

3 บัตรประจำตัวประชาชน ลูก(ถ้ามี) แม่ และพยาน 2 คน

4 ใบสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อนามสกุล(ถ้ามี)

 

คุณสมบัติของพยาน 2 คน

1 อายุ 20 ปีขึ้นไป

2 ใครก็ได้ แต่ควรเป็นญาติกับแม่เด็ก เนื่องจากนายทะเบียนอาจจะสอบสวนเพิ่มเติม

 

หมายเหตุ

1 เด็กไม่ต้องไปด้วยก็ได้

2 ทำวันเดียวเสร็จ ก่อนออกหนังสือ นายทะเบียนจะทำเรื่องไปขอตรวจสอบการจดทะเบียนรับรองบุตรก่อน

3 เอกสารตัวจริงเก็บไว้ เวลาใช้ให้ใช้สำเนา โดยจะใช้ไปตลอดจนกว่าเด็กจะอายุ 20 ปี




Powered by Joomla!®. Designed by: joomla 1.6 templates web hosting Valid XHTML and CSS.