Company Logo

Contact Us

Notice

การอายัดเงิน ตามกฎหมายใหม่ (พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ฉบับที่ 30 พ.ศ.2560)

    เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน เจ้าหนี้มีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ โดยตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายอายัดต่อไป

    การอายัดเงินเดือน โบนัส ค่าตอบแทนต่างๆ หากเจ้าหนี้รายแรกขออายัดเงินเดือนแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 2, 3, 4 ... จะทำเรื่องขออายัดซ้ำไม่ได้ ต้องรอคิวให้รายแรกอายัดครบก่อน หรืออาจจะขอหารส่วนแบ่งเงินที่ถูกอายัดจากเจ้าหนี้รายแรกก็ได้ ถ้ารอก็จะรอได้ไม่เกิน 10 ปี หากเกิน 10 ปีก็จะหมดอายุความ

 

หลักเกณฑ์การอายัดเงินเดือน

1. หากลูกหนี้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง หรือเป็นพนักงานบริษัททั่วไป จะถูกอายัดเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา ก่อนหักภาษีและประกันสังคม ดังนี้

» เงินเดือนไม่ถึง 20,000 บาท --- อายัดไม่ได้

» เงินเดือนเกิน 20,000 บาท ตามที่เจ้าหนี้ร้องขอ(ส่วนใหญ่จะร้องขอทั้งหมดที่เกิน 20,000) แต่จะต้องเหลือไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท

เช่น

» เงินเดือน 19,500 บาท --- ไม่ถูกอายัด

» เงินเดือน 30,000 บาท เจ้าหนี้ขอให้อายัดทั้งหมด ถูกอายัด 10,000 บาท เหลือไว้ใช้จ่าย 20,000 บาท

» เงินเดือน 30,000 บาท เจ้าหนี้ขอให้อายัด 5,000 บาท ถูกอายัด 5,000 บาท เหลือไว้ใช้จ่าย 25,000 บาท

3 เงินโบนัส --- จะถูกอายัดไม่เกิน 50%

4 เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน --- จะถูกอายัดได้ 100%

5 เงินค่าคอมมิชชั่น --- อายัดได้ 30%

6 เงินค่าตอบแทนต่างๆ / ค่าสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าตำแหน่ง ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าทรัพย์สิน เป็นต้น

7 บัญชีเงินฝากธนาคาร --- อายัดได้ทั้งหมด

8 เงินสหกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือพนักงานบริษัท หากเจ้าหนี้สืบทราบว่าเป็นสมาชิกสหกรณ์ใด --- อายัดเงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน เงินค่าหุ้นสหกรณ์ได้ทั้งหมด

9 ร่วมทุนกับผู้อื่นเปิดบริษัท หากผู้ร่วมลงทุนมีปัญหาถูกอายัดทรัพย์ --- อายัดเฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์สินของผู้ถูกอายัดเท่านั้น ไม่ได้อายัดทั้งหมด อาจดูเฉพาะส่วนของเงินปันผล ใบหุ้น เป็นต้นของผู้ถูกอายัด

10 หุ้น --- อายัดได้ โดยสามารถยึดใบหุ้นเพื่อขายทอดตลาดได้ หรือถ้ามีเงินปันผล ก็จะทำเรื่องอายัดเงินปันผลได้

11 ค่าเช่ารายเดือน --- อายัดได้

12 สิทธิจำนองหรือจำนำเป็นประกัน --- อายัดได้

 

สิทธิเรียกร้องที่ อายัดไม่ได้

1 ลูกหนี้เป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยงานราชการ --- ไม่ถูกอายัดเงินเดือน

2 เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข)

3 เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทำกับบริษัท (พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ)

   แต่ถ้าทำกองทุนต่างๆกับธนาคารต้องดูตามหลักเกณฑ์ของกองทุนว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ และมีข้อห้ามการบังคับคดีหรือไม่ ถ้าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ และไม่มีข้อห้ามก็จะอายัดได้

4 เงินค่าวิทยะฐานะ (ค่าตำแหน่งทางวิชาการ) ถ้าเป็นข้าราชการจะไม่ถูกอายัด แต่ถ้าเป็นสังกัดเอกชนจะถูกอายัด เพราะถือว่าเป็นเงินเดือน

5 เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ หรือลูกจ้างของรัฐบาล เว้นแต่กรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ

6 เงิน เดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง คนงานที่นายจ้างจ่ายให้รวมกัน ไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท หรือตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร

7 บำเหน็จ ค่าชดเชยหรือรายได้ของลูกหนี้ ที่ไม่ใช่บุคคลกรในหน่วยงานราชการ ไม่เกิน 300,000 บาท

8 เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ลูกหนี้ได้รับอันเนื่องมาจากความตายของบุคคลอื่น

9 เบี้ยคนพิการ เบี้ยคนชรา

 

***หากลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆในครอบครัว***

เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา หรือค่ารักษาพยาบาลโรคประจำตัว สามารถนำหลักฐานไปขอลดหย่อนที่สำนักบังคับคดี เพื่อให้ลดเปอร์เซ็นต์การอายัดเงินเดือนได้ โดยการยื่นเป็นคำร้องขอลดอายัด

เจ้าหน้าที่จะพิจารณาจากเอกสารและหลักฐาน โดยลดให้ตามความเหมาะสม แต่ต้องเหลือไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 เช่น เงินเดือน 30,000 บาท ถูกอายัด 10,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถลดให้ได้ 5,000 บาท หากต้องการให้ลดยอดอายัดมากกว่านี้ ก็จะต้องใช้สิทธิทางศาล โดยการยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 15 วันนับต่วันที่ทราบคำสั่ง

 

การพิจารณาลดอายัดเงินเดือน ค่าจ้าง

1 ลูกหนี้ขอลดการอายัด ส่งหนังสือรับรองเงินเดือน หลักฐานความจำเป็น

2 เจ้าพนักงานพิจารณาลดอายัดเงินได้ไม่ เกินกึ่งหนึ่ง

3 เจ้าหนี้ / ลูกหนี้ไม่เห็นชอบให้ร้องต่อศาลเพื่อกำหนดจำนวนเงินที่อายัดใหม่

 

คำเตือน

กรณีบริษัทหรือนายจ้าง ได้รับคำสั่งอายัด ไม่ส่งเงินหรือไม่แจ้งเหตุขัดข้อง และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งเจ้าหนี้แล้ว เจ้าหนี้สามารถยื่นคำร้องต่อศาลให้บังคับผู้รับคำสั่งอายัดได้ ส่วนนายจ้างมีสิทธิคัดค้านได้

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทนายความ

1 การอายัดเงินเดือน ลูกหนี้จะถูกอายัดจากยอดเงินเดือนเต็ม หากลูกหนี้ผู้ถูกอายัดเงินเดือนมีภาระที่ต้องจ่ายเงินกู้ให้แก่หน่วยงานอื่น เช่น สหกรณ์ต่างๆลูกหนี้จะต้องคำนวณว่า เงินเดือนที่เหลือจากการถูกอายัดมีเพียงพอที่จะใช้จ่ายประจำวันตลอดเดือน และเหลือพอที่จะจ่ายเงินกู้คืนให้สหกรณ์หรือไม่

» หากลูกหนี้ถูกอายัดเงินเดือน และถูกหักเงินกู้สหกรณ์แล้ว ยังมีเงินพอใช้และเหลือเก็บบ้างก็ถือว่าไม่เป็นไรไม่ต้องกังวล

» แต่หากถูกอายัดเงินเดือน และถูกหักเงินกู้สหกรณ์แล้วเงินเหลือไม่พอใช้จ่ายก็ควรหาทางแก้ไข เพราะถ้าไม่แก้ไขมันอาจจะนำไปสู่ปัญหาการหมุนจ่ายแบบเดิมอีกรอบทำให้แก้ไขปัญหาหนี้ไม่หมดสักที โดยลูกหนี้ควรจะปฏิบัติดังนี้

2เจรจากับทางสหกรณ์ หาทางลดหย่อนยอดเงินที่ต้องชำระคืนในแต่ละเดือนโดยอาจจะยืดระยะผ่อนชำระให้นานออกไป(ในกรณีที่ถูกหักบัญชีอัตโนมัติ)

3 อาจจะหยุดจ่ายและให้ทางสหกรณ์ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายและอายัดเงินเดือนต่อไป วิธีนี้อาจสร้างปัญหาให้กับสหกรณ์ได้ ลูกหนี้ยังสามารถใช้วิธีที่ 3 คือ

4 ลูกหนี้สามารถนำยอดเงินที่ถูกหักจ่ายคืนให้สหกรณ์มาขอ ลดหย่อนเปอร์เซ็นต์การอายัดเงินเดือนได้ (ขอลดหย่อนได้สูงสุด 50% เท่านั้น)หมายความว่า ให้ลูกหนี้นำยอดภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ลูกหนี้ต้อง จ่ายรวมทั้งเงินที่ต้องชำระคืนแก่สหกรณ์มารวมยอดและขอลดยอด การอายัดเงินเดือน ไม่ให้กรมบังคับคดีอายัดเงินเดือนจาก ยอดเต็มถึง 30% ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ในการขอลดยอดการถูกอายัดจะขอลดยอดได้มากที่สุด คือ ให้กรมบังคับคดีอายัดไม่ต่ำกว่า 15%

5 ในกรณีลูกหนี้ เงินเดือน ไม่ถึง 20,000 บาท ห้ามเจ้าหนี้อายัดเงินเดือน แต่มิได้หมายความว่าหนี้จะหมดไป เพียงแต่แขวนหนี้เอาไว้ก่อน

6 ลูกหนี้สามารถขอให้ทางบริษัทออกหนังสือรับรอง หรือหลักฐานเพื่อแยกให้เห็นว่า เป็นเงินเดือนเท่าไหร่ เป็นสวัสดิการเท่าไหร่ เพราะเงินสวัสดิการเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้ เช่น ค่าที่พัก ค่าน้ำมัน เป็นต้น

7 การบังคับคดีตามคำพิพากษา ท่านห้ามมิให้บังคับคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่ศาลมีคำพิพากษา

8 โดยการอายัดเงินเดือนจะให้บริษัทนำส่ง หรือลูกหนี้นำส่งกรมบังคับคดีเองก็ได้




Powered by Joomla!®. Designed by: joomla 1.6 templates web hosting Valid XHTML and CSS.