Company Logo

Contact Us

Notice

การทำหนังสือการหย่า โดยความยินยอม

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 1514 การหย่านั้น จะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายหรือโดยคำพิพากษาของศาล

    การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือ และมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน

มาตรา 1515 เมื่อได้จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายนี้ การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนหย่านั้นแล้ว

 

พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481

ภาค 5 ครอบครัว

มาตรา 26 การหย่าโดยความยินยอมย่อมสมบูรณ์ ถ้ากฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้กระทำได้

 

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฏีกา ที่น่าสนใจ

ประเด็น พยานลงชื่อไม่ครบ 2 คน ถือว่าไม่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 592/2538

    หนังสือหย่ามีพยานลงลายมือชื่อเพียง 1 คน ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 วรรคสอง โจทก์ผู้เป็นภริยาจึงไม่อาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยผู้เป็นสามีให้หย่าขาดจากโจทก์ตามหนังสือดังกล่าวได้

 

ประเด็น ฝ่ายใดหนึ่งไม่ได้ลงชื่อต่อหน้าพยาน ก็ถือว่าสมบูรณ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 151/2487

    สามีภริยายินยอมหย่ากันต่อหน้าพยานสองคน สามีลงชื่อต่อหน้าพยานทั้งสองคน พยานสองคนนั้นลงชื่อในหนังสือหย่าแล้ว แม้ภริยาลงชื่อเมื่อพยานคนหนึ่งไปเสียแล้ว ดังนี้ก็ถือว่าสมบูรณ์ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ลงชื่อต่อหน้าพยาน ความประสงค์มีแต่เพียงว่าให้มีพยานลงชื่อในหนังสือนั้นสองคน เป็นพยานในข้อตกลงที่ทำกันนั้น

 

ประเด็น การทำหนังสือหย่าโดยความยินยอม หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายสามารถฟ้องคดีบังคับได้เลย ไม่จำต้องอ้างเหตุหย่าตามกฎหมาย มาตรา 1516

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2533

    การหย่าโดยทำหนังสือหย่ากันเอง มีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้แต่เฉพาะระหว่างโจทก์กับจำเลยเท่านั้น จะอ้างเป็นเหตุให้เสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้ทะเบียนหย่าแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 หากจำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าเท่ากับจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามหนังสือหย่า โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 และการฟ้องของโจทก์เช่นนี้ก็เพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนตามาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 คำพิพากษาในส่วนนี้จึงสภาพบังคับได้ ส่วนที่จะมีผลใช้บังคับในประเทศอังกฤษหรือไม่ เป็นเรื่องที่โจทก์หรือผู้ได้เสียจะต้องดำเนินการต่อไป

 

ประเด็น ค่าเลี้ยงชีพ สามารถแก้ไขลดหรือเพิ่มได้ภายหลัง

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 4685/2540

หย่าโดยความยินยอมและกำหนดค่าเลี้ยงชีพกันเอง ก็มาขอลดหรือเพิ่มค่าเลี้ยงชีพในภายหลังได้ 

 

ประเด็น การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 เมื่อทำหนังสือสัญญาหย่ากันโดยถูกต้องแล้ว หากฝ่ายใดไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าในภายหลัง อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องบังคับให้ไปจดทะเบียนหย่าได้

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 3838/2528

    สามีภรรยาทำหนังสือยินยอมหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากันไว้ถูกต้องครบถ้วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514 ที่ได้ตรวจชำระใหม่แล้ว เมื่อสามีไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าให้ภรรยา ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้บังคับสามีไปจดทะเบียนหย่าได้

 

เอกสารประกอบการร่างหนังสือหย่าโดยความยินยอม มีดังนี้

1 บัตรประจำตัวประชาชน

2 ทะเบียนบ้าน

3 PASSPORT

4 ใบสำคัญการสมรส

5 ทะเบียนสมรส

6 สูติบัตรบุตร

7 เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด บัญชีเงินฝาก รายงานจดทะเบียนรถยนต์ เป็นต้น

8 เอกสารเกี่ยวกับหนี้สินสมรส เช่น สัญญากู้ยืม ใบแจ้งหนี้สินเชื่อ เป็นต้น

9 หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อสกุล(ถ้ามี)

10 บัตรประจำตัวประชาชนพยาน 2 คน

 

 

อัตราค่าบริการรับทำหนังสือหย่า โดยความยินยอม

 

 

ลำดับ

 

 

รูปแบบคดี

 

ราคาต่อฉบับ(บาท)

 

1

 

 

 

ร่างสัญญา

กรณีคู่สมรสชาวต่างชาติ ไม่รวมค่าแปลเอกสาร

 

-x-

 

ตัวอย่าง หนังสือหย่าโดยความยินยอม

                           หนังสือหย่าโดยความยินยอม 

                                                       ทำที่…………………...

                                               วันที่……..เดือน…………พ.ศ………….

    หนังสือฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างนาย……………………………………อายุ…….ปี อยู่บ้านเลขที่…………ตำบล…………………อำเภอ………………….จังหวัด………………ซึ่งต่อไปในหนังสือนี้เรียกว่า “คู่สัญญาฝ่ายที่หนึ่ง

กับนาง………………………………อายุ……….ปี อยู่บ้านเลขที่………….ตำบล……………………อำเภอ………………….จังหวัด……………ซึ่งต่อไปในหนังสือนี้เรียกว่า “คู่สัญญาฝ่ายที่สอง

ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำหนังสือสัญญากันดังต่อไปนี้

ข้อ 1. โดยที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจดทะเบียนสมรสกัน ณ ที่ว่าการอำเภอ………………เมื่อวันที่………เดือน……………..พ.ศ………….

ข้อ 2. โดยเหตุที่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายไม่ประสงค์ที่จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาอีกต่อไป จึงได้ตกลงอย่าขาดกันโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายในการนี้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงจะไปดำเนินการจดทะเบียนหย่า ณ ที่ว่าการอำเภอ …………ภายในวันที่………….เดือน………………พ.ศ…………….

ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ไปจดทะเบียนหย่าภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ยอมให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งนำคดีฟ้องร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้หย่าได้

ข้อ 3. ความปกครองบุตรผู้เยาว์ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันปกครองบุตรผู้เยาว์ดังนี้

3.1 ด.ช……………………..อายุ……..ปี ให้………………เป็นผู้ปกครอง

3.2 ด.ญ………...………….อายุ……..ปี ให้………………เป็นผู้ปกครอง

ข้อ 4. ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้คู่สัญญาฝ่ายที่……...……มีหน้าที่ในการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาเล่าเรียนของบุตรผู้เยาว์เป็นเดือนละ……...…บาท โดยจ่ายให้แก่คู่สัญญาฝ่ายที่………….ภายในวันที่………..ของทุกๆเดือน ไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ

ข้อ 5. คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะทำการแบ่งทรัพย์สินกัน ดังนี้

5.1 บ้านเลขที่………………..ให้แบ่งโดย………......…………………….

5.2 ที่ดินโฉนดเลขที่………..ให้แบ่งโดย…………………………………..

5.2 รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน……….ให้แบ่งโดย…………………...

ข้อ 6. คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงแบ่งความรับผิดในหนี้สินดังนี้

6.1. รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน............. คู่สัญญาฝ่ายที่หนึ่ง เป็นฝ่ายผ่อนชำระ จนกว่าจะขายได้

    คู่ญญาทั้งสองฝ่ายได้เข้าใจข้อความในสัญญานี้โดยตลอดแล้ว เห็นว่าถูกต้องตรงตามเจตนา จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน สัญญานี้ทำขึ้นเป็นสองฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกัน คู่สัญญา ทั้งสองฝ่ายเก็บไว้ฝ่ายละหนึ่งฉบับ

              ลงชื่อ……………………………………..คู่สัญญาฝ่ายที่หนึ่ง

                (                                          )

              ลงชื่อ……………………………………..คู่สัญญาฝ่ายที่สอง 

                 (                                          )

              ลงชื่อ……………………………………..พยาน 

                 (                                          ) 

              ลงชื่อ……………………………………..พยาน 

                 (                                          )




Powered by Joomla!®. Designed by: joomla 1.6 templates web hosting Valid XHTML and CSS.